หน่วยที่ 1 หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์
ความหมายขององค์ประกอบศิลป์

                องค์ประกอบของศิลป์ หรือ (Composition)นั้นมาจากภาษาละตินโดยคำว่า Postนั้นหมายถึงการจัดวาง และคำว่า Comp หมายถึงเข้าด้วยกันซึ่งเมื่อนำมารวมกันแล้วในทางศิลปะ Composition จึงหมายความถึงองค์ประกอบของศิลปะการจะเกิดองค์ประกอบศิลป์ได้นั้นต้องเกิดจากการเอาส่วนประกอบของศิลป์ (Element of Art)มาสร้างสรรค์งานศิลปะความหมายขององค์ประกอบศิลป์นั้นได้มีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความเอาไว้

                องค์ประกอบศิลป์ เป็นวิชาหรือทฤษฎีที่เกี่ยวกับการสร้างรูปทรงในงานการจัดองค์ประกอบศิลป์เป็นการนำเอาทัศนธาตุ ได้แก่ จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง น้ำหนักอ่อน-แก่ พื้นที่ว่าง พื้นผิว และสี มาจัดวางสร้างรูปแบบต่างๆอย่างลงตัวเหมาะสมกลมกลืนงดงามมีชีวิตชีวา ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของการจัดองค์ประกอบศิลป์

                การจัดองค์ประกอบของศิลป์ นั้น ถือว่าเป็นทฤษฎีเบื้องต้นของการสร้างสรรค์งานศิลปะเพราะเป็นแนวทางที่ศิลปินใช้เป็นหลักในการสร้างสรรค์งานและพิจารณาคุณค่าของงานศิลปะหลักในการจัดองค์ประกอบศิลป์ จะต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์เบื้องต้นในการจัดวางดังนี้


ความสำคัญขององค์ประกอบศิลป์

                 ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในสาขาต่างๆไม่ว่าจะเป็นสาขาวิจิตรศิลป์หรือประยุกต์ศิลป์ผู้สร้างสรรค์นั้นต้องมีความรู้เบื้องต้นด้านศิลปะมาก่อนและศึกษาถึงหลักการองค์ประกอบพื้นฐานองค์ประกอบที่สำคัญการจัดวางองค์ประกอบเหล่านั้นรวมถึงการกำหนดสีในลักษณะต่างเพิ่มเติมให้เกิดความเข้าใจเพื่อเวลาที่สร้างผลงานศิลปะจะได้ผลที่มีคุณค่าความหมายและความงามเป็นที่หน้าสนใจแก่ผู้พบเห็นหากสร้างสรรค์ผลงานโดยขาดองค์ประกอบศิลป์ผลงานนั้นอาจดูด้อยค่า หมดความหมายหรือไม่น่าสนใจแก่ผู้พบเห็นหากสร้างสรรค์ผลงานโดยขาดองค์ประกอบศิลป์ผลงานนั้นอาจดูด้อยค่า หมดความหมายหรือไม่น่าสนใจไปเลยดังนั้นจะเห็นได้ว่าองค์ประกอบศิลป์นั้นมีความสำคัญอย่างมากในการสร้างศิลปะมีนักการศึกษาด้านศิลปะหลายท่านได้ให้ทรรศนะในด้านความสำคัญขององค์ประกอบศิลป์ที่มีต่อการสร้างงานศิลปะไว้ พอจะสรุปได้ดังนี้

                การสร้างสรรค์งานศิลปะให้ได้ดีนั้นผู้สร้างสรรค์จะต้องทำความเข้าใจกับองค์ประกอบศิลป์เป็นพื้นฐานเสียงก่อน ไม่เช่นนั้นแล้วผลงานที่ออกมามักไม่สมบรูณ์เท่าไหร่นักซึ่งองค์ประกอบหลักของศิลปะคือรูปทรงกับเนื้อหา  (ชลูด  นิ่มเสมอ)
รูปที่ 1.1 สร้างสรรค์ศิลปะ
           องค์ประกอบศิลป์ เป็นเสมือนหัวใจดวงหนี่งของการทำงานศิลปะ เพราะในงานองค์ประกอบศิลป์หนึ่งชิ้น จะประกอบไปด้วย การร่างภาพ (วาดเส้น) การจัดวางให้เกิดความงาม (การจัดภาพ)และการใช้สี(ทฤษฎีสี)ซึ่งแต่ละอย่างจะต้องเรียนรู้สู่รายละเอียดลึกลงไปอีกองค์ประกอบศิลป์ จึงเป็นพื้นฐานสำคัญในการรวบรวมความรู้หลายๆอยางไว้ด้วยกัน จึงต้องเรียนรู้ก่อนที่จะศึกษาในเรื่องอื่น ๆ (อนันต์ ประภาโส)

           องค์ประกอบของศิลป์ การจัดองค์ประกอบและการใช้สี เป็นหลักที่สำคัญในการสร้างสรรค์งานศิลปะให้ เกิดความงาม ไม่ว่าจะเป็นจิตรกรรม วาดเขียน ประติมากรรมสถาปัตยกรรมและการพิมพ์ภาพ หาก ปราศจากความรู้ ความเข้าใจเสียแล้วผลงานนั้นก็จะไม่มีค่าหรือความหมายใดๆเลย (สวนศรี  ศรีแพงพงษ์)

            องค์ประกอบของศิลป์ จัดเป็นวิชาที่มีความสำคัญสำหลับผู้ศึกษางานศิลปะ หากว่าขาดความรู้ความเข้าใจในวิชานี้แล้วผลงานที่จะสร้างขึ้นมาก็ยากที่จะประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลปะสมัยใหม่ที่มีการแสดงเฉพาะ เส้น สี แสง เงา น้ำหนัก พื้นผิว จังหวะ และ บริเวณว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งต้องนำหลักองค์ประกอบศิลป์มาใช้

           การจัดองค์ประกอบศิลป์  มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับงานทัศนศิลป์โดยตรงทั้งวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ การจัดภาพหรือออกแบบสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ให้เกิดคุณค่าความงามนั้น การจัดองค์ประกอบศิลป์จะมีบทบาทสำคัญมากที่สุด (จีรพันธ์ สมประสงค์)

           จากทรรศนะต่างๆสรุปว่า องค์ประกอบศิลป์เป็นหัวใจสำคัญของงานศิลปะทุกสาขาเพราะงานศิลปะใดหากขาดการนำองค์ประกอบศิลป์ไปใช้ก็จะทำให้งานนั้นดูไม่มีคุณค่าทั้งด้านทางกายและทางจิตใจของผู้ดูหรือพบเห็น ขณะเดียวกันก็บ่งบอกถึงภูมิความรู้ความสามารถของผู้สร้างสรรค์ผลงานนั้นด้วย

           การที่เข้าถึงศิลปะ(Appreciation)นั้น จะต้องผ่านการฝึกฝนและหาทางดูเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ทั้งจะต้องมีรสนิยมที่ดีพอสมควร การฝึกฝน การทำซ้ำๆ อย่างสนใจ เมื่อนานเข้าก็จะเกิดความเข้าใจ ทำด้วยความคุ้นเคยกับสิ่งเหล่านั้น จึงจะเข้าใจ รู้เห็นในคุณค่าของศิลปะนั้นๆได้ดี
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ องค์ประกอบศิลป์
รูปที่ 1.2 องค์ประกอบศิลป์

องค์ประกอบพื้นฐานด้านนามธรรมของศิลปะ

          องค์ประกอบพื้นฐานด้านนามธรรมของศิลปะ เป็นแนวคิด หรือจุดกำเนิดแรกที่ศิลปินใช้เป็นสิ่งกำหนดทิศทางในการสร้างสรรค์ ก่อนที่จะมีการสร้างผลงานศิลปะ ประกอบด้วยเนื้อหากับเรื่องราว

           1. เนื้อหาในทางศิลปะ คือ ความคิดที่เป็นนามธรรมที่แสดงให้เห็นได้โดยผ่านกระบวนการทางศิลปะ เช่น ศิลปินต้องการเขียนภาพที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับชนบท หรือภาพวิถีชีวิตของคนชนบท เป็นต้น

           2. เรื่องราวในทางศิลปะ คือ ส่วนที่แสดงความคิดทั้งหมดของศิลปินออกมาเป็นรูปธรรมด้วยกระบวนการทางศิลปะ เช่น ศิลปินเขียนภาพชื่อชาวเขา ก็มักแสดงรูปเกี่ยวกับวิถีชีวิต หรือกิจกรรมส่วนหนึ่งของชาวเขา นั่นคือเรื่องราวที่ปรากฏออกมาให้เห็น

           ประเภทของความสัมพันธ์ของเนื้อหากับเรื่องราวในงานทัศนศิลป์นั้น เนื้อหากับเรื่องราวจะมีความสัมพันธ์กันน้อยหรือมาก หรืออาจไม่สัมพันธ์กันเลย หรืออาจไม่มีเรื่องเลยก็เป็นไปได้ทั้งนั้น โดยขึ้นกับลักษณะของงาน และเจตนาในการแสดงออกของศิลปินซึ่งเราสามารถแยกได้ดังต่อไปนี้คือ

  1. การเน้นเนื้อหาด้วยเรื่อง
  2. เนื้อหาที่เป็นผลจาการผสมผสานกันของศิลปินกับเรื่อง
  3. เนื้อหาที่เป็นอิสระจากเรื่อง
  4. เนื้อหาไม่มีเรื่อง


          1. การเน้นเนื้อหาด้วยเรื่อง ได้แก่ การใช้เรื่องที่ตรงกับเนื้อหา และเป็นตัวแสดงเนื้อหาของงานโดยตรง ตัวอย่างเช่น เมื่อศิลปินต้องการให้ความงามทางด้านดอกไม้เป็นเนื้อหาของงาน เขาก็จะหาดอกไม้ที่สวยงามมาเป็นเรื่อง สีสันและความอ่อนช้อยของกลีบดอกจะช่วยให้เกิดความงามขึ้นในภาพ

           2. เนื้อหาที่เป็นผลจาการผสมผสานระหว่างศิลปินกับเรื่อง ในส่วนนี้ศิลปินจะเสนอความเห็นส่วนตัว หรือผสมกันระหว่างรูปลักษณะของเรื่องกับจินตนาการของศิลปิน เช่น เรื่องความงามของดอกไม้ โดยศิลปินผสมความรู้สึกนึกคิดของตนเองลงไปในเรื่องด้วย เขาจะดัดแปลง เพิ่มเติมรูปร่างของดอกไม้ให้งามไปตามทัศนะของเขาและใช้องค์ประกอบทางศิลปะเป็นองค์ประกอบทางรูปทรงให้สอดคล้องกับความงามของเรื่อง

          3. เนื้อหาที่เป็นอิสระจากเรื่อง เมื่อศิลปินผสมจิตนาการของตนเองเข้าไปในงานมากขึ้น ความสำคัญของเรื่องจะลดลง ดอกไม้ที่สวยที่เป็นแบบอาจถูกศิลปินตัดทอนขัดเกลาหรือเปลี่ยนแปลงมากที่สุด จนเรื่องดอกไม้นั้นหมดความสำคัญไปอย่างสิ้นเชิง เหลือแต่เนื้อหาที่เป็นอิสระการทำงานแบบศิลปินอาศัยเพียงเรื่องเป็นจุดเริ่มต้นแล้วเดินทางห่างออกจากเรื่องจนหายลับไป เหลือแต่รูปทรงและตัวศิลปินเองที่เป็นเนื้อหาของงานกรณีนี้เนื้อภายในซึ่งหมายถึงเนื้อหาที่เกิดขึ้นจากการประสานกันของรูปทรงจะบทบาทมากกว่าเนื้อหาภายนอก หรือบางครั้งจะไม่แสดงเนื้อหาภายนอกออกมาเลย

           4. เนื้อหาไม่มีเรื่อง  ศิลปินบางประเภทไม่มีความจำเป็นต้องใช้เรื่องเป็นจุดเริ่มต้นงานของเขาไม่มีเรื่อง มี่แต่รูปทรง กับเนื้อหา โดยรูปทรงเป็นเนื้อหาเสียเองโดยตรงเป็นเนื้อหาภายในล้วนๆเป็นการแสดงความคิด อารมณ์ และบุคลิกภาพของศิลปินแท้ๆลงไปในรูปทรงที่บริสุทธิ์  งานประเภทนี้จะเห็นได้ชัดในดนตรีและงานทัศนศิลป์ที่เป็นนามธรรม และแบบนอนออบเจคตีฟ

ส่วนประกอบขององค์ประกอบของศิลป์


                องค์ประกอบพื้นฐานด้านนามธรรมของศิลปะ เป็นแนวคิดหรือจุดกำเนิดแรกที่ศิลปินใช้เป็นสิ่งกำหนดทิศทางในการสร้างสรรค์ ก่อนที่จะมีการสร้างผลงานศิลปะ ประกอบด้วยเนื้อหากับเรื่องราว

                1. เส้น
                    เส้น Line เส้น คือ ร่องรอยที่เกิดจากเคลื่อนที่ของจุด หรือถ้าเรานำจุดมาวางเรียงต่อๆกันไป ก็จะเกิดเป็นเส้นขึ้น เส้นมีมิติเดียว คือ ความยาว ไม่มีความกว้าง ทำหน้าที่เป็นขอบเขตของที่ว่าง รูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก สี ตลอดจนกลุ่มรูปทรงต่างๆรวมทั้งเป็นแกนหรือโครงสร้างของรูปร่างรูปทรง

                    เส้นเป็นพื้นฐานที่สำคัญของงานศิลปะทุกชนิดเส้นสามารถให้ความหมาย แสดงความรู้สึกและอารมณ์ได้ด้วยตัวเอง และด้วยการสร้างเป็นรูปทรงต่างๆขึ้นเส้นมี 2 ลักษณะ คือเส้นตรง(Straight Line) และ เส้นโค้ง(Curve Line) เส้นทั้งสองชนิดนี้ เมื่อนำมาจัดวางในลักษณะต่างๆกัน จะมีชื่อเรียกต่างๆและให้ความหมายความรู้สึกที่แตกต่างกันอีกด้วย
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เส้น
รูปที่ 1.3 เส้น
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เส้น
รูปที่ 1.4 ลักษณะของเส้น

           ลักษณะของเส้น

                    1. เส้นตั้ง หรือ เส้นดิ่ง ให้ความรู้สึกทางความสูงสง่า มั่นคง แข็งแรง หนักแน่น เป็นสัญลักษณ์ของความซื่อตรง

                    2. เส้นนอน ให้ความรู้สึกทางความกว้าง สงบ ราบเรียบ นิ่ง ผ่อนคลาย

                    3. เส้นเฉียง หรือ เส้นทแยงมุม ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหว รวดเร็ว ไม่มั่นคง

                    4. เส้นหยัก หรือ เส้นซิกแซกแบบฟันปลา ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหวอย่างเป็นจังหวะ มีระเบียบ ไม่ราบเรียบ น่ากลัว อันตราย ขัดแย้ง

ความรุนแรง

                    5. เส้นโค้ง แบบคลื่น ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหวอย่างช้าลื่นไหล ต่อเนื่อง สุภาพ อ่อนโยน นุ่มนวล

                    6. เส้นโค้งแบบก้นหอย ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว คลี่คลาย หรือเติบโตในทิศทางที่หมุนวนออกมา ถ้ามองเข้าไปจะเห็นพลังความเคลื่อนไหวที่ไม่สิ้นสุด

                    7. เส้นโค้งวงแคบ ให้ความรู้สึกถึงพลังความเคลื่อนไหวที่รุนแรง การเปลี่ยนทิศทางที่รวดเร็ว ไม่หยุดนิ่ง

                    8. เส้นประ ให้ความรู้สึกที่ไม่ต่อเนื่อง ขาดหายไม่ชัดเจน ทำให้เกิดความเครียด


                    ความสำคัญของเส้น
                    1. ใช้ในการแบ่งที่ว่างออกเป็นส่วนๆ

                    2. กำหนดขอบเขตของที่วาง หมายถึง ทำให้เกิดเป็นรูปร่าง (Shape)ขึ้นมา

                    3. กำหนดเส้นรอบนอกของรูปทรง ทำให้มองเห็นรูปทรง(Form)ชัดขึ้น

                    4. ทำหน้าที่เป็นน้ำหนักอ่อนแก่ของแสงและเงา หมายถึง การแรงเงาด้วยเส้น

                    5. ให้ความรู้สึกด้วยการเป็นแกนหรือโครงสร้างของรูป และโครงสร้างของภาพ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เส้นในแบบต่างๆ
รูปที่ 1.5 เส้นในแบบต่างๆ
            2. สี

                  ประวัติความเป็นมาของสี
                         มนุษย์เริ่มมีการใช้สีตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีทั้งการเขียนสีลงบนผนังถ้ำ  ผนังหิน บนพื้นผิวเครื่องปั้นดินเผา และที่อื่นๆภาพเขียนสีบนผนังถ้ำเริ่มทำตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในทวีปยุโรป โดยคนก่อนสมัยประวัติศาสตร์ในสมัยหินเก่าตอนปราย ภาพเขียนสีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้พบที่ประเทศฝรั่งเศสและประเทศสปนในประเทศไทยกรมศิลปากรได้สำรวจพบภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์บนผนังถ้ำ และเพิงหินในที่ต่างๆจะมีอายุระหว่าง 1,500-4,000 ปี เป็นสมัยหินใหม่และยุคโลหะได้ค้นพบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2465 ครั้งแรกพบบนผนังถ้ำในอ่าวพังงา ต่อมาก็ค้นพบอีกซึ่งมีอยู่ทั่วไป เช่น จังหวัดกาญจนบุรี อุทัยธานี เป็นต้น สีที่เขียนบนผนังถ้ำส่วนใหญ่เป็นสีแดง นอกนั้นจะมีสีส้ม สีเลือดหมู สีเหลือง สีน้ำตาล และสีดำ สีบนเครื่องปั้นดินเผาได้ค้นพบการเขียนลายครั้งแรกที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี เมื่อปี พ.ศ. 2510 สีที่เขียนเป็นสีแดงเป็นรูปลายก้านขดจิตรกรรมฝาผนังตามวัดต่างๆสมัยสุโขทัยและอยุธยามีหลักฐานว่าใช้สีในการเขียนภาพหลายสี แต่ก็อยู่ในวงจำกัดเพียง 4 สี คือ ดำ ขาว  ดินแดง และเหลืองในสมัยโบราญนั้น ช่างเขียนจะเอาวัตถุต่างๆในธรรมชาติมาใช้เป็นสีสำหรับเขียนภาพเช่น ดินหรือหินขาวใช้ทำสีขาว สีดำก็เอามาจากเขม่าไฟ หรือจากตัวหมึก จีนเป็นชาติแรกที่พยายามค้นคว้าเรื่องสีธรรมชาติได้มากกว่าชาติอื่นๆคือใช้หินนำมาบดเป็นสีต่างๆสีเหลืองนำมาจากยางไม้ รงหรือรงทอง สีครามก็นำมาจากต้นไม้ ส่วนใหญ่แล้วการค้นคว้าเรื่องสีก็เพื่อที่จะนำมาใช้ย้อมผ้าต่างๆไม่นิยมเขียนภาพเพราะจีนมีคติในการเขียนภาพเพียงสีเดียว คือ สีดำโดยใช้หมึกจีนเขียน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สี
รูปที่ 1.6 สี

                       คำจำกัดความของสี

                       1. แสงที่มีความถี่ของคลื่นในขนาดที่ตามนุษย์สามารถรับสัมผัสได้

                       2. แม่สีที่เป็นวัตถุประกอบด้วย แดง เหลือง น้ำเงิน

                       3. สีที่เกิดจากการผสมของแม่สี

                       คุณลักษณะของสี

                       สีแท้ คือ สีที่ยังไม่ถูกสีอื่นเข้าผสม เป็นลักษณะของสีแท้ที่มีความสะอาด สดใส เช่น แดง เหลือง น้ำเงิน

                       สีอ่อนหรือสีจาง ใช้เรียกสีแท้ที่ถูกผสมด้วยสีขาว เช่น สีเทา สีชมพู

                       สีแก่ ใช้เรียกสีแท้ที่ถูกผสมด้วยสีดำ เช่น สีน้ำตาล

                       สีสามารถแยกออกเป็น 2 ประเภท คือ

                       1. สีธรรมชาติ

                       2. สีที่มนุษย์สร้างขึ้น

                       สีธรรมชาติ เป็นสีที่เกิดขึ้นเองธรรมชาติ เช่น สีของแสงอาทิตย์ สีของท้องฟ้ายามเช้า เย็น สีของรุ้งกินน้ำ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเองธรรมชาติ ตลอดจนสีของดอกไม้ ต้นไม้ พื้นดิน ท้องฟ้า น้ำทะเล

                       สีที่มนุษย์สร้างขึ้น  หรือได้สังเคราะห์ขึ้น เช่น สีวิทยาศาสตร์ มนุษย์ได้ทดลองจากแสงต่างๆเช่น ไฟฟ้า นำมาผสมโดยการทอแสงประสานกัน นำมาใช้ประโยชน์ในด้านการละคร การจัดฉากเวที โทรทัศน์การตกแต่งสถานที่
รูปที่ 1.7 ประเภทของสี
     3. ค่าน้ำหนัก
                          ค่าน้ำหนัก คือ ค่าความอ่อนแก่ของบริเวณที่ถูกแสงสว่าง และบริเวณที่เป็นเงาของวัตถุหรือความอ่อน-ความเข้มของสีหนึ่งๆหรือหลายสี เช่น สีแดงมีความเข้มกว่าสีชมพูหรือสีแดงอ่อนกว่าสีน้ำเงิน เป็นต้น นอกจากนี้ยังหมายถึงระดับความเข้มของแสงและระดับความมืดของเงา ซึ่งไล่เรียงจากมืดที่สุด(สีดำ) ไปจนถึงสว่างที่สุด(สีขาว)น้ำหนักที่อยู่ระหว่างกลางจะเป็นสีเทา ซึ่งมีตั้งแต่เทาแก่ที่สุด จนถึงเทาอ่อนที่สุด การใช้ค่าน้ำหนักจะทำให้ภาพดูเหมือนจริงและมีความกลมกลืน ถ้าใช้ค่าน้ำหนักหลายๆระดับจะทำให้มีความกลมกลืนมากยิ่งขึ้น และถ้าใช้ค่าน้ำหนักจำนวนน้อยที่แตกต่างกันมาก จะทำให้เกิดความแตกต่างความขัดแย้ง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ค่าน้ำหนัก
รูปที่ 1.8 ค่าน้ำหนักความอ่อน - แก่

                        แสงและเงา เป็น องค์ประกอบของศิลป์ที่อยู่คู่กัน แสงเมื่อส่องกระทบกับวัตถุจะทำให้เกิดเงา  แสงและเงาเป็นตัวกำหนดระดับของค่าน้ำหนัก  ความเข้มของเงาจะขึ้นอยู่กับความเข้มของแสง  ในที่ที่มีแสงสว่างมาก เงาจะเข้มขึ้น  และในที่แสงสว่างน้อย  เงาจะไม่ชัดเจน  ในที่ที่ไม่มีแสงสว่างจะไม่มีเงา  และเงาจะอยู่ในทางตรงข้ามกับแสงเสมอ  ค่าน้ำหนักของแสงและเงาที่เกิดบนวัตถุ  สามารถจำแนกเป็นลักษณะที่ต่างๆ ได้ดังนี้       
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แสงและเงา
รูปที่ 1.9 แสงและเงา
                           1. บริเวณแสงสว่างจัด (Hi-Light)  เป็นบริเวณที่อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดแสงมากที่สุด  จะมีความสว่างมากที่สุด  ในวัตถุที่มีผิวมันวาวจะสะท้อนแหล่งกำเนิดแสงอออกมาให้เห็นชัดเจน
                           2. บริเวณแสงสว่าง  (Light)  เป็นบริเวณที่ได้รับแสงสว่างรองลงมาจากบริเวณแสงสว่างจัด  เนื่องจากอยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดแสงออกมา  และเริ่มมีค่าน้ำหนักอ่อนๆ
                          3. บริเวณเงา (Shade)  เป็นบริเวณที่ไม่ได้รับแสงสว่าง  หรือเป็นบริเวณที่ถูกบดบังจากแสงสว่าง  ซึ่งมีค่าน้ำหนักเข้มมากขึ้นกว่าบริเวณแสงสว่าง
                          4. บริเวณเงาเข้มจัด (Hi-Shade)  เป็นบริเวณที่อยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดแสงมากที่สุด  หรือเป็นบริเวณที่ถูกบดบังมากๆ หลายๆ ชั้น  จะมีค่าน้ำหนักที่เข้มมากไปจนถึงเข้มที่สุด
                         5. บริเวณเงาตกทอด  เป็นบริเวณของพื้นหลังที่เงาของวัตถุทาบลงไป  เป็นบริเวณเงาที่อยุ่ภายนอกวัตถุ  และจะมีความเข้มของค่าน้ำหนักขึ้นอยู่กับความเข้มของเงา  น้ำหนักของพื้นหลังทิศทางและระยะของเงา
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ริเวณที่เงาตกกระทบ
รูปที่ 1.10 บริเวณที่เงาตกกระทบ
                           ความสำคัญของค่าน้ำหนัก
                            1.ให้ความแตกต่างระหว่างรูปและพื้น  หรือรูปทรงกับที่ว่าง
                            2.ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว
                            3.ให้ความรู้สึกเป็น 2 มิติ แก่รูปร่าง  และความเป็นมิติ  3  มิติ  แก่รูปทรง
                            4.ทำให้เกิดระยะความตื้น-ลึก  และระยะใกล้-ไกล ของภาพ
                            5.ทำให้เกิดความกลมกลืนประสานกันของภาพ

                 4. รูปร่างและรูปทรง  Shape & Form
                    รูปร่าง (Shape)  คือ  รูปแบนๆ มี  2 มิติ มีความกว้างกับความยาว  ไม่มีความหนาเกิดจากเส้นรอบนอกที่แสดงพื้นที่ขอบเขตของรูปร่างของรูปต่างๆ  เช่น รูปวงกลม  รูปสามเหลี่ยม  หรือรูปอิสระ  ที่แสดงเนื้อที่ของผิวที่เป็นระนาบมากว่าแสดงปริมาตรหรือมวล
                    รูปทรง (Form)  รูปที่ลักษณะเป็น 3 มิติ  โดยนอกจากจะแสดงความกว้าง  ความยาวแล้ว  ยังมีความลึก หรือความหนา นูน ด้วย เป็นรูปทรงกลม  ทรงสามเหลี่ยม ทรงกระบอก  เป็นต้น  ให้ความรู้มีปริมาตร  ความหนาแน่น  มีมวลสารที่เกิดจากการใช้ค่าน้ำหนักหรือการจัดองค์ประกอบของรูปทรงหลายรูปรวมกัน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปทรเลขาคณิต
รูปที่ 1.11 ค่าน้ำหนักความอ่อน - แก่
                    รูปเรขาคณิต (Geometric Form)  มีรูปที่แน่นอน  มาตรฐาน  สามาราถวัดหรือคำนวณได้ง่าย  มีกฎเกณฑ์  เกิดจากการสร้างของมนุษย์  เช่น  รูปสามเหลี่ยม รูปวงกลม  รูปวงรี  นอกจากนี้ยังรวมถึง รูปทรงของสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นอย่างมีแบบแผนแน่นอน   เช่นรถยนต์  เครื่องจักรกล  เครื่องบิน  สิ่งของเครื่องใช้  ที่ผลิตโดยระบบอุตสาหกรรม  ก็จัดเป็นรูปทรงเรขาคณิตเช่นกัน  รูปเรขาคณิตที่เป็นรูปที่ให้โครงสร้างพื้นฐานรูปต่างๆ  ดังนั้น  การสร้างสรรค์รูปอื่นๆ ควรศึกษารูปเรขาคณิตให้เข้าใจถ่องแท้เสียก่อน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปทรเลขาคณิต
รูปที่ 1.12 รูปทรงเลขาคณิต

                    รูปอินทรีย์ (Organic Form)   เป็นรูปของสิ่งมีชีวิตหรือคล้ายกับสิ่งมีชีวิตที่สามารถเจริญเติบโต
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปทรงอินทรีย์
รูปที่ 1.12 รูปทรงอินทรีย์

                    รูปอิสระ (Free Form) เป็นรูปที่ไมใช่เรขาคณิต   หรือแบบอินทรีย์  แต่เกิดขึ้นอย่างอิสระ  ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน  ซึ่งเป็นไปตามอิทธิพลและการกระทำจากสิ่งแวดล้อม เช่น รูปก้อนเมฆ ก้อนหิน  หยดน้ำ  ควัน  ซึ่งให้ความรู้สึกที่เคลื่อนไหว  มีพลัง  รูปอิสระจะมีลักษณะขัดแย้งกับรูปเรขาคณิต แต่กมกลืนกับรูปอินทรีย์ที่ถูกกระทำจนมีรูปลักษณะเปลี่ยนไปจากเดิมจนไม่เหลือสภาพ  เช่น รถยนต์ที่ถูกชนจนยับเยินไปทั้งคัน  เครื่องบินตก  ตอไม้ที่ถูกเผาทำลาย  หรือซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยผุพัง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปทรงอินทรีย์
รูปที่ 1.14 รูปทรงอิสระ

                        ความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรง
                        เมื่อนำรูปทรงหลายๆรูปมาวางใกล้กัน  รูปเหล่านั้นจะมีความสัมพันธ์ดึงดูด  หรือผลักไสซึ่งกันและกัน  การประกอบกันของรูปทรงอาจทำโดยใช้รูปทรงที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน  รูปทรงที่ต่อเนื่องกัน  รูปทรงที่ซับซ้อน  รูปทรงที่ผนึกเข้าด้วยกัน  รูปทรงที่แทรกเข้าหากัน  รูปทรงที่สานเข้าด้วยกัน  หรือรูปทรงที่บิดพันกัน  การนำรูปเรขาคณิต  รูปอินทรีย์  และรูปอิสระ มาประกอบกัน จะได้รูปลักษณะใหม่ๆ  อย่างไม่สิ้นสุด

          5. พื้นผิว  Texture  
           พื้นผิว  หมายถึง  ลักษณะของบริเวณผิวหน้าของสิ่งต่างๆที่เมื่อสัมผัสแล้วสามารถรับรู้ได้ว่ามีลักษณะอย่างไร  คือรู้ว่า  หยาบ ขรุขระ  เรียบ  มัน  ด้าน  สาก  เป็นต้น  ลักษณะที่สัมผัสได้ของพื้นผิว  มี  2  ประเภท  คือ
รูปที่ 1.15 ลักษณะของพื้นผิว

                    1. พื้นผิวที่สัมผัสได้ด้วยมือหรือกายสัมผัส  เป็นลักษณะพื้นผิวที่เป็นอยู่จริง  ของผิวหน้าของวัสดุนั้นๆ  ซึ่งสามารถ  สัมผัสได้จากงาน ประติมากรรม  งานสถาปัตยกรรม  สิ่งประดิษฐ์อื่นๆ
                    2. พื้นผิวที่สามารถสัมผัสได้ด้วยสายตา   จากการมองเห็นแต่ไม่ใช่ลักษณะที่แท้จริง  ของผิววัสดุนั้นๆเช่นการวาดภาพก้อนหินบนกระดาษ  จะให้ความรู้สึกเป็นก้อนหินแต่มือสัมผัสเป็นกระดาษ  หรือใช้กระดาษพิมพ์ลายไม้ หรือลายหินอ่อน  เพื่อปะทับ บนผิวหน้าของสิ่งต่างๆ  เป็นต้น    ลักษณะเช่นนี้ถือเป็นการสร้างพื้นผิวลวงตาให้สัมผัสได้ด้วยการมองเห็นเท่านั้น  พื้นผิวลักษณะต่างๆจะให้ความรู้สึกต่องานศิลปะที่แตกต่างกัน  พื้นผิวหยาบจะให้ความรู้สึกกระตุ้นประสาทหนักแน่น  มั่งคง  แข็งแรง  ถาวร  ในขณะที่ผิวเรียบจะให้ความรู้สึกเบา สบาย การใช้ลักษณะของพื้นผิวที่แตกต่างกัน เห็นได้ชัดเจน จากงานประติมากรรม  และมากที่สุดในงานสถาปัตยกรรม ซึ่งรวมการเอาลักษณะต่างๆกันของพื้นผิววัสดุหลายๆอย่าง  เช่น อิฐ  ไม้  โลหะ  กระจก  คอนกรีต  หิน  ซึ่งมีความขัดแย้งกัน  แต่สถาปนิกได้นำมาผสมกลมกลืนได้อย่างลงตัวจนเกิดความสวยงาม
รูปที่ 1.16 ลักษณะของพื้นผิวที่สัมผัสได้ด้วยมือและสายตา

การจัดองค์ประกอบของศิลปะ

                การจัดองค์ประกอบของศิลปะ  มีหลักที่ควรคำนึง อยู่ 5 ประการ
                1. สัดส่วน (Proportion)
                2. ความสมดุล  (Balance)
                3. จังหวะลีลา  (Rhythm)
                4. การเน้น  ( Emphasis) 
                5. เอกภาพ  (Unity)

หลักองค์ประกอบทางศิลปะ   
            เป็นหลักสำคัญสำหรับผู้สร้างสรรค์และผู้ศึกษางานศิลปะ  เนื่องจากผงงานศิลปะใด  ๆ ก็ตาม  ล้วนมีคุณค่าอยู่ 2 ประการ คือ คุณค่าทางด้านรูปทรงและคุณค่าทางด้านเรื่องราวคุณค่าทางด้านรูปทรงเกิดจากการนำเอาองค์ประกอบต่าง  ๆ  ของศิลปะ อันได้แก่ เส้น สี แสงและเงา รูปราง รูปทรง พื้นผิว ฯลฯ มาจัดเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดความงาม ซึ่งแนวทางในการนำองค์ประกอบต่าง  ๆ  มาจัดรวมกันนั้นเรียกว่า  การจัดองค์ประกอบศิลป์  (Art  Composition)โดยมีหลักการจัดตามที่จะกล่าวต่อไป  อีกคุณค่าหนึ่งของงานศิลป์  คือ  คุณค่าทางด้านเนื้อหาเป็นเรื่องราว     หรือสาระของผลงานที่ศิลปินผู้สร่างสรรค์ต้องการที่จะแสดงออกมาให้ผู้ชมได้สัมผัส รับรู้โดยอาศัยรูปลักษณะที่เกิดจากการจัดองค์ประกอบศิลป์นั่นเอง หรืออาจกล่าวได้ว่าศิลปินนำเสนอเนื้อหาเรื่องราวผ่านรูปลักษณะที่เกิดจากการจัดองค์ประกอบทางศิลป์
                    ถ้าองค์ประกอบที่จัดขึ้นไม่สัมพันธ์กับเนื้อหาเรื่องราวที่นำเสนองานศิลปะนั้นก็จะขาดคุณค่าทางความงามไปดังนั้นการจัดองค์ประกอบศิลป์จึงมีความสำคัญในการสร้างสรรค์งานศิลป์เป็นอย่างยิ่งเพราะจะทำให้งานศิลปะทรงคุณค่าทางความงามอย่างสมบูรณ์


 เอกภาพ (Unity)

          เอกภาพ  หมายถึง ความเป็นหน่วยหรือเป็นอันดียวกัน มีความกลมกลืนเข้ากันได้ เอกภาพในทางศิลปะคือ การจัดภาพให้เกินความสัมพันธ์อยู่ในกลุ่มเดียวกันไม่กระจัดกระจายหรือก่อให้เกิดความสับสน มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน แม้จะมีส่วนแตกแยกไปบ้างก็เป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้น แต่ดูผมรวมแล้วไม่เป็นลักษณะแบ่งแยก สิ่งที่ควรคำนึง คือ ให้มีเพียงหน่วยเดียวเท่า นั้นจึงจะเกิดเอกภาพการจัดอย่างถูกต้อง

          1. เอกภาพแสดงออก เมื่อนำรูปทรงหลายๆ รูปมาวางใกล้กันรูปเหล่านั้นจะมีความสัมพันธ์ดึงดูดหรือผลักไสซึ่งกันและกัน การประกอบกันของรูปทรงอาจทำได้โดยใช้รูปทรงใกล้เคียงกันรูปทรงที่ต่อเนื่องกัน รูปทรงที่ซ้อนกันรูปทรงที่ผนึกเข้าด้วยกันรูปทรงที่แทรกเจ้าหากันรูปทรงที่สารเจ้าด้วยกันหรือรูปทรงที่บิดพันกัน การนำเอารูปเรขาคณิต รูปอินทรีย์ และรูปอิสระมาประกอบเข้าด้วยกันจะได้รูปลักษณะใหม่ๆ อย่างไม่สิ้นสุด

          2. เอกภาพของรูปทรง คือ การรวมตัวกันอย่างมีดุลยภาพ และมีระเบียบขององค์ประกอบทางศิลปะเพื่อให้เกิดเป็นรูปทรงหนึ่งที่สามารถแสดงความคิดเห็นหรืออารมณ์ของศิลปะได้อย่างชัดเจน เอกภาพของรูปทรงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดต่อความงามของผลงานศิลปะเพราะเป็นสิ่งที่ศิลปินใช้เป็นสื่อถึงการแสดงออกของเรื่องราวความคิดและอารมณ์ดังนั้นกฎเกณฑ์ในการการสร้างเอกภาพในงานศิลปะเป็นกฎเกณฑ์เดียวกันกับธรรมชาติซึ่งมีอยู่ 2 หัวข้อคือ

         1. กฎเกณฑ์การขัดแย้ง (opposition) มีอยู่ 4 ลักษณะ คือ
            1.1 การขัดแย้งขององค์ประกอบแต่ละชนิด และรวมถึงการขัดแย้งกันถึงองค์ประกอบหลายชนิด 
            1.2 การขัดแย้งของขนาด 
            1.3 การขัดแย้งของทิศทาง 
            1.4 การขัดแยงของที่ว่างหรือจังหวะ

          2. กฎเกณฑ์ของการประสาน (Transition) คือการทำให้เกิดความกลมกลืนให้สิ่งต่างๆ เข้ากันได้อย่างสนิท เป็นการสร้างเองภาพจากการรวมตัวของสิ่งที่เหมือนกันเจ้าด้วยกัน การประสารมีอยู่ 2 วิธี คือ

            2.1 การเป็นตัวกลาง(Transition) คือการทำสิ่งที่ขัดแย้งกันให้กลมกลืนกันด้วยการใช้ตัวกลางเข้าไปประสาร เช่นสีขาวกับสีดำ ซึ่งมีความแตกต่าง ขัดแย้งกัน สามารถทำให้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีเอกภาพโดยการให้สีเทาเข้าไปประสารทำให้เกิดความกลมกลืนกันมากขึ้น

          2.2 การทำซ้ำ(Repetition) คือการจัดวางหน่วยตั้งแต่ 2 หน่วยขึ้นไปเป็นการสร้าเอกภาพง่ายที่สุด แต่ก็ทำให้ดูจืดชื้ด น่าเบื่อที่สุด นอกเหนือจากกฎเกณฑ์หลัก คือ การขัดแยงแหละการประสารแล้วยังมีกฎเกณฑ์รองอีก 2 ข้อ คือ

                1. ความเป็นเด่น (Dominance) ซึ่งมี 2 ลักษณะคือ

                1.1 ความเป็นเด่นที่เกิดจากความขัดแย้ง ด้วยการเพิ่มหรือลดความสำคัญ ความน่าสนใจในหน่วยใดหน่วยหนึ่งของคู่ที่ขัดแย้งกัน
                1.2 ความเป็นเด่นที่เกิดจากการประสาน

                2. การเปลี่ยนแปร (Variation)คือ การเพิ่มความขัดแยงลงในหน่วยที่ซ้ำกันเพื่อป้องกันการจืดชืดหน้าเบื่อ ซึ่งจะช่วยให้มีความน่าสนใจมากขึ้น การเปลี่ยนแปรมี 4 ลักษณะ คือ
                    2.1 การเปลี่ยนแปรของรูปลักษณะ 
                    2.2 การเปลี่ยนแปรของขนาด 
                    2.3 การเปลี่ยนแปรของทิศทาง
                    2.4 การเปลี่ยนแปรของจังหวะ
                การเปลี่ยนแปรรูปลักษณะจะต้องรักษาคุณลักษณะซ้ำไว้ ถ้ารูปมีการเปลี่ยนแปรไปมาก การซ้ำก็จะหมดกลายเป็นการขัดแย้งเข้าแทน ล้าถ้าหน่วยหนึ่งมีการเปลี่ยนแปรอย่างรวดเร็ว มีความแตกต่างจากหน่วยอื่น  มากจะกลายเป็นความเด่นเป็นการสร้างเอกภาพด้วยความขัดแย้ง

                ความสมดุล (Balance) 
           ความสมดุลเป็นคุณสมบัติที่สำคัญอย่างหนึ่งในการจะดูภาพซึ่งการจัดภาพให้เดความสมดุลนั้นจะต้องยึดเอาส่วนกลางจองภาพหรือเส้นแบ่งกึ่งกลางภาพเป็นหลักในการแบ่งเพราะปกติงานศิลปะจะมีส่วนที่เป็นแก่นกลางหรือศูนย์ กลางของภาพหรือเส้นแบ่งกึ่งกลางเป็นภาพหลักในการแบ่ง ด้านขวา ด้านบน ด้านล่าง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ทั้ง 2 ด้านเฉพาะด้าน ซ้าย และ ด้านขวามีสมดุลกัน การจัดสมดุลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
            1) ความสมดุลกันโดยจัดภาพให้มีรูปร่าง รูปทรง หรือสันที่เหมือนกันทั้งซ้ายและขวา 
            2) ความสมดุลกันโดยจัดภาพที่มีรูปร่าง รูปทรง หรือสีสัน ด้านซ้ายและขวาไม่เหมือนกัน แต่ให้การรู้สึกในการถ่วงน้ำหนักให้สมดุลกันได้
ความสมดุลสองข้างเท่ากัน
ความสมดุลสองข้างไม่เท่ากัน


          จังหวะและจุดสนใจ (Rhythm and Emphasis)  
           ในการจัดภาพควรจัดให้เกิดจังหวะและจุดสนใจประกอบกันไปด้วยการจัดภาพให้มีจังหวะที่เหมาะสมกลมกลืนสวยงามนั้นจะต้องคำนึงถึงบริเวณว่างด้วย จังหวะเป็นการจัดภาพในลักษณะการทำซ้ำเป็นระเบียบ ได้รับรู้ถึงการเคลื่อนไหวต่อเนื่องของเส้น น้ำหนัก สีและรูปทรงจนเกิดเป็นจุดสนใจ เช่น จังหวะของรูปร่าง รูปทรงที่เรียงกันแบบธรรมดา จังหวะสีและรูปทรงจนเกิดเป็นจุดสนใจ เช่น จังหวะจองรูปร่าง รูปทรงที่สลับส่วนการจัดภาพให้ดูน่าสนใจหรือจุดเด่นของภาพจองภาพนั้น หมายถึง การจัดองค์ประกอบเพื่อสร้างความหน่วยเดียวที่เด่นและน่าสนใจ ซึ่งจะต้องมีการเน้นจุดเด่นจุดสนใจให้เห็นชัดกว่าส่วนย่อยที่เป็นจุดรองลงไปโดยคำนึงถึงขนาดที่ใหญ่กว่า รวมทั้งความเข็มของสีที่เมืองมองดูภาพแล้วจะทำให้สะอาดตาทั้งนี้ตำแหนงของจุดสนใจหรือจุดเด่นควรอยู่บริเวณศูนย์กลางของภาพ แต่ไม่ควรจะอยู่ตรงกลางพอดี อาจจะให้อยู่เยืองเล็กน้อยไปทางด้านใดด้านหนึ่งก็ได้
รูปที่ 1.17 การเน้นด้วยสี

                ความกลมกลืนและความขัดแย้ง (Harmony and Contrast)
                      ความกลมกลืน หมายถึง การนำทัศนะธาตุต่างๆ ที่ต้องการสร้างสรรค์ มาจัดองค์ประกอบให้ประสารกลมกลืนสอดคล้องสัมพันธ์เข้ากันได้ ความกลมกลืนมีหลายประเภทไม่ว่าจะเป็นกลมกลืนของ เส้น รูปร่าง รูปทรงลักษณะผิว สี น้ำหนักอ่อน-แก่ และความกลมกลืนของเนื้อหาสาระทั้งหมด

                      ความขัดแย้ง หมายถึง ความผิดแตกต่างออกไปจากกลุ่มหรือส่วนร่วมในลักษณะที่ไม่เหมือนกันไม่ว่าจะเป็นรูปทรงหรือเนื้อหาก็ตาม

                      การจัดองค์ประกอบศิลป์ บางครั้งความขัดแยงกับกลมกลืนก็มีความเกี่ยวข้องกัน เช่น ถ้าส่วนมากหรือทั้งหมดมีความกลมกลืนกัน อาจทำให้เกิดความรู้สึกซ้ำซาก ไม่น่าสนใจฉะนั้นจึงอาจออกแบบให้มีความแตกต่างหรือขัดแย้งกันบ้าง ก็จะช่วยดึงดูดทำให้ผลงานเด่นสะดุดตา น่าสนใจ
รูปที่ 1.18 ความกลมกลืนด้วยสี
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ความขัดแย้งด้วยขนาด
รูปที่ 1.19 ความขัดแย้งด้วยขนาด

                สัดส่วน (Proportion)
                สัดส่วน หมายถึง การเอานำส่วนประกอบต่างๆ มาจัดให้ได้สัดส่วนที่เหมาะสมซึ่งแสดงความสัมพันธ์ของจำนวน ความกว้าง ยาว ลึก น้ำหนัก ขนาดของรูปทรงต่างๆ สัดส่วนนับเป็นหลักสำคัญของการจัดภาพ ทำให้ชิ้นงานนั้นมีความสมบูรณ์และสัพันธ์กลมกลืนกันอย่างงดงาม เช่น สัดส่วนของมนุษย์กับที่อยู่อาศัย เครื่องใช้สอย และ เสื้อผ้า สัดส่วนในทางศิลปะเป็นเรื่องราวของความรู้สึกทางสุนทรียภาพ การสมสัดส่วนนี้หมายรวมไปถึงความสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสมของ สี แสง เงา และทัศนธาตุอื่น ๆ ด้วย
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สัดส่วน องค์ประกอบ
รูปที่ 1.20 สัดส่วน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น