บทที่ 4 ศิลปะกับคอมพิวเตอร์
ศิลปะกับคอมพิวเตอร์
Computer Art หมายถึง
งานศิลปะอันเกิดจากการผลิตของเครื่องคอมพิวเตอร์ใน ค.ศ. 1935 อลัน
ทูริ่ง ได้สร้างจักรกลการคำนวณนี้เรียกว่า ทูริ่ง
แมชชีน ซึ่งมุ่งเน้นการคำนวณต่อมาทูริ่งได้พัฒนามาเป็นคอมพิวเตอร์ เรียกว่า ACE (
Automatic Computing Engine )
ในยุคแรกคอมพิวเตอร์เริ่มใช้หลอดสุญญากาศแทนวงจรในการคำนวณ ต่อมาในทศวรรษที่ 1950
ได้มีการสร้างทรานซิลเตอร์ที่มีขนาดเล็กแทนหลอดสุญญากาศ ซึ่งคอมพิวเตอร์ในยุคนั้นมีขนาดเล็ก
การทำงานของคอมพิวเตอร์จึงมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์ทางด้านคณิตศาสตร์ ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านการแพทย์
ด้านการทหาร ในด้านศิลปะได้ปรากฏแก่สายตาครั้งแรก
ในการเปิดตัวของงานนิทรรศการคอมพิวเตอร์กราฟิก ต่อมา
มิเชล นอล ได้ผลิตศิลปะคอมพิวเตอร์ขึ้นได้ร่วมการแสดงศิลปะคอมพิวเตอร์ในนครนิวยอร์ก งานของได้แสดงรูปโค้งที่ ซ้ำ ๆ กัน ซึ่งงานของเขามีลักษณะคล้ายกับงาน OP ARE หรือการสร้างสรรค์งานศิลปะที่ต่อเนื่องกันซึ่งคอมพิวเตอร์มีบทบาทในทุก
ๆ วงการของสังคม และบทบาทที่สำคัญ คือ ด้านที่เกี่ยวกับศิลปะจะเป็นด้านการประยุกต์ใช้เพื่อการออกแบบ
การใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างงานศิลปะทั้งด้านวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ที่มีตั้งแต่งานด้านทัศนศิลป์ ด้านดนตรี
ด้านศิลปะการแสดง
ด้านสถาปัตยกรรม
รวมถึงด้านนันทนาการด้วย
การประยุกต์สร้างงานศิลปะด้วยคอมพิวเตอร์มีจุดเด่น คือ
ช่วยให้ศิลปะสามารถออกแบบต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ
สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้
แบบที่สร้างขึ้นโดยคอมพิวเตอร์จะมีความแปลกตาน่าสนใจ
เพราะสามารถสร้างได้ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว รวมถึงการสร้างเสียงต่าง ๆ
ประกอบในผลงานศิลปะได้อีกด้วย
รูปที่ 4.1 ศิลปะกับคอมพิวเตอร์ |
ภาพศิลปะกับคอมพิวเตอร์
การวาดภาพในปัจจุบันนี้ใครๆ
ก็สามารถวาดได้แล้วโดยไม่ต้องใช้พู่กันกับจานสี
แต่จะใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกแทนภาพที่วาด
ในระบบคอมพิวเตอร์กราฟิกนี้เราสามารถกำหนดสีแสง เงา รูป
แบบลายเส้นที่ต้องการได้โดยง่าย
ภาพโฆษณาทางโทรทัศน์หลายชิ้นก็เป็นงานจากการใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก
ข้อดีของการใช้คอมพิวเตอร์วาดภาพก็คือเราสามารถแก้ไขเพิ่มเติมส่วนที่ต้องการได้ง่าย
นอกจากนี้เรายังสามารถนำภาพต่าง ๆ เก็บในระบบคอมพิวเตอร์ได้โดยใช้เครื่องสแกนเนอร์
(Scanner) แล้วนำภาพเหล่านั้นมาแก้ไข
ภาพยนตร์การ์ตูนและภาพยนตร์ประเภทนิยายวิทยาศาสตร์ หรือภาพยนตร์ที่ใช้เทคนิคพิเศษต่าง ๆ
ในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์กราฟิกเข้ามาช่วยในการออกแบบและสร้างภาพเคลื่อนไหว (Computer Animation) มากขึ้น เช่น
ภาพยานอวกาศที่ปรากฏอยู่ในภาพยนตร์ประเภทนิยายวิทยาศาสตร์
การใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกช่วยให้ภาพที่อยู่ในจิตนาการของมนุษย์สามารถนำออกมาทำให้ปรากฏเป็นจริงได้
ภาพเคลื่อนไหวจึงมีประโยชน์มากทั้งในระบบการศึกษา การอบรม
การวิจัย และการจำลองการทำงาน เช่น
จำลองกรขับรถ
การขับเครื่องบิน
เกมคอมพิวเตอร์หรือวิดีโอเกม
ก็ใช้หลักการทำเคลื่อนไหวจึงมีประโยชน์มากทั้งในระบบการศึกษา การอบรม
การวิจัย และการจำลองการทำงาน เช่น
จำลองกรขับรถ
การขับเครื่องบิน
เกมคอมพิวเตอร์หรือวิดีโอเกม
ก็ใช้หลักการทำภาพเคลื่อนไหวในคอมพิวเตอร์กราฟิกเช่นกัน
รูปที่ 4.2 ศิลปะจากคอมพิวเตอร์ |
การออกแบบกราฟิก
งานกราฟิกเป็นส่วนสำคัญที่มีบทบาทยิ่งต่อการออกแบบและกระบวนการผลิตสื่อโดยเฉพราะอย่างยิ่งสื่อที่ต้องการการสัมผัสรับรู้ด้วยตา ได้แก่ หนังสือ นิตยสาร วารสาร แผ่นป้าย บรรจุภัณฑ์
แผ่นพับ แผ่นปลิว โทรทัศน์
โฆษณา ภาพยนตร์
นักออกแบบจะใช้วิธีการทางศิลปะและวิธีการทางการออกแบบร่วมกันสร้างรูปแบบสื่อ
เพื่อให้เกิดศักยภาพสูงสุดในการที่จะเป็นตัวกลางในการสื่อความหมายระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร วิธีการออกแบบและวิธีแก้ปัญหาการออกแบบ
โดยการนำเอารูปภาพประกอบ ภาพถ่าย
สัญลักษณ์ รูปแบบ
ขนาดตัวอักษรมาจัดวางเพื่อให้เกิดการนำเสนอข้อมูลอย่างชัดเจน
เกิดผลดีต่อกระบวนการสื่อความหมาย
ความหมายองการออกแบบกราฟิก
เป็นลักษณะของการออกแบบพื้นผิว 2
มิติเพื่อเป็นสื่อกลางสำหรับถ่ายทอดข้อความความรู้สึกนึกคิด และอารมณ์จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง
เพื่อให้เข้าใจและรู้เรื่องโดยใช้ประสาทตาในการรับรู้เป็นส่วนใหญ่
งานกราฟิกมีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก สิ่งที่เรามองเห็นด้วยตาจะโน้มน้าวจิตใจได้ดีกว่าการรับรู้ประเภทอื่น
งานกราฟิกที่ดีต้องขึ้นอยู่กับการออกแบบที่ดีด้วย นับตั้งแต่หลักการเบื้องต้นของศิลปะ รวมถึงการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ
ที่นำมาใช้ในการผลิตวัสดุกราฟิก
นอกจากนี้ยังต้องมีความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีใหม่ ๆ
ซึ่งจะสามารถนำมาใช้ในการออกแบบกราฟิกด้วย
เพื่อที่จะสามารถพัฒนางานออกแบบให้ทันยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลตลอดเวลา
รูปที่ 4.3 การออกแบบกราฟฟิก |
คุณค่าของงานกราฟิก
งานกราฟิกชิ้นที่ดีจะทำให้เห็นถึงความคิดในการออกแบบเป็นเลิศจะมีอิทธิพลโดยตรงที่จะโน้มน้าวผู้รับข้อมูลให้เกิดความสนใจและยอดรับ และในขณะเดียวกันก็ยังแสดงถึง
1. เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมายให้เกิดความเข้าใจตรงกัน
จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
2. สามารถทำหน้าที่เป็นสื่อ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เกิดการศึกษากับกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี
3. ช่วยทำให้เกิดความน่าสนใจ ประทับใจ
และน่าเชื่อถือแก่ผู้พบเห็น
4. ช่วยให้เกิดการกระตุ้นทางความคิดและการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว
5. ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
6.ทำให้ผู้พบเห็นเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทั้งทางด้านการกระทำและความคิด
ระบบคอมพิวเตอร์กับการออกแบบงานกราฟิก
ความหมายและความเป็นมาของคอมพิวเตอร์กราฟิก
คอมพิวเตอร์กราฟิก ( Computer Graphics ) หมายถึง การสร้าง
การจัดการ
การใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างภาพกราฟิก
โดยการนำข้อมูลมาสร้างเป็นภาพ
เส้นกราฟ แผนภาพ แผนภูมิ
หรืออาจนำภาพมาจากสื่ออื่น ๆ เช่น
ภาพจากเครื่องสแกน จากกล้องดิจิตอล
จากวีดีทัศน์หรือจากภาพยนตร์มาทำการตัดต่อให้เป็นไปตามต้องการหรือตกแต่งภาพให้ดีขึ้นคอมพิวเตอร์กราฟิกอาจหมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์วาดภาพ โดยใช้ซอฟต์แวร์สำหรับวาดภาพ
รูปที่ 4.4 ระบบคอมพิวเตอร์กับการออกแบบงานกราฟิก |
หลักการทำงานและการแสดงผลของภาพคอมพิวเตอร์กราฟิก
ภาพที่เกิดบนจอคอมพิวเตอร์ เกิดจากการทำงานโหมดสี RGB ซึ่งประกอบด้วยสีแดง ( Red ) สีเขียว ( Green ) และสีน้ำเงิน ( Blue ) โดยใช้หลักยิงประจุไฟฟ้าให้เกิดการเปล่งแสงองสีทั้ง
3 สีมาผสมกัน
ทำให้เกิดเป็นจุดสีสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ที่เรียกว่า พิกเซล ( Pixel ) ซึ่งมาจากคำว่า Picture กับ Element โดยพิกเซลจะมีหลากหลายสี เมื่อนำมาวางต่อกันจะเกิดเป็นรูปภาพซึ่งภาพที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์มี
2 ประเภท คือ แบบ Raster กับ Vector
หลักการของกราฟิกแบบ Raster
หลักการของภาพกราฟิกแบบ Raster หรือแบบ Bitmap เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการเรียงตัวกันของจุดสี่เหลี่ยมเล็ก
ๆ หลากหลายสี ซึ่งเรียกจุดสีเหลี่ยมเล็ก ๆ
นี้ว่าพิกเซล ในการสร้างภาพกราฟิกแบบ Raster จะต้องกำหนดจำนวนของพิกเซลให้กับภาพที่ต้องการสร้างถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลน้อย
เมื่อยายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้นจะทำให้มองเห็นภาพเป็นสุดสีเหลี่ยมเล็ก ๆ
หรือถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลมากก็จะทำให้แฟ้มภาพมีขนาดใหญ่ ดังนั้น
การกำหนดพิกเซลจึงควรกำหนดจำนวนพิกเซลให้เหมาะกับงานที่สร้าง คือ
ถ้าต้องการใช้งานทั่วไปจะกำหนดจำนวนพิกเซลประมาณ 100-150ppi จำนวนพิกเซลต่อ 1 ตารางนิ้ว
ถ้าเป็นงานที่ต้องการความละเอียดน้อยและแฟ้มภาพมีขนาดเล็ก เช่น
ภาพสำหรับใช้กับเว็บไซต์จะกำหนดพิกเซลประมาณ 72 ppi และถ้าเป็นงานพิมพ์ เช่น
นิตยสารโปสเตอร์ขนาดใหญ่จะกำหนดจำนวนพิกเซลประมาณ 300-350 ppi เป็น
รูปที่ 4.5 ภาพแบบ Raster |
หลักการของกราฟิกแบบ Vector
หลักการองกราฟิกแบบ Vector เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจาการอ้างอิงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์หรือการคำนวณ ซึ่งภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกันโดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง
รูปทรง
เมื่อมีการขยายภาพความละเอียดของภาพจะไม่ลดลง แฟ้มจะมาดเล็กกว่าแบบ Raster ภาพกราฟิกแบบ Vector นิยมใช้เพื่องานสถาปัตย์ตกแต่งภายในการออกแบบต่าง ๆ เช่น
การออกแบบอาคาร การออกแบบรถยนต์ การสร้างโลโก้
การสร้างานการ์ตูน เป็นต้น
รูปที่ 4.6 ภาพแบบ Vecter |
หลักการใช้สีและแสงในคอมพิวเตอร์
สีที่ใช้ในงานด้านกราฟิกทั่วไปมี 4
ระบบ คือ
1. RGB 2.CMYK 3.HSB 4. LAB
RGB
เป็นระบบสีที่ประกอบด้วยแม่สี 3
สีคือ สีแดง เขียว และสีน้ำเงิน เมื่อนำมาผสมกันทำให้เกิดสีต่าง ๆ
บนจอคอมพิวเตอร์มากถึง 16.7 ล้านสี ซึ่งใกล้เคียงกับสีที่ตาเรามองเห็นแกติ
สีที่ได้จากการผสมสีขึ้นอยู่กับความเข้มของสี โดยถ้าสีมีความเข้มข้นมาก
เมื่อนำมาผสมกันจะทำให้เกิดเป็นสีขาว จึงเรียกระบบสีนี้ว่า แบบ Additive หรือการผสมสีแบบบวก
รูปที่ 4.7 สีแบบ RGB |
CMYK
เป็นระบบสีที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์ออกทางกระดาษหรือวัสดุผิวเรียบอื่น
ๆ ซึ่งประกอบด้วยสีหลัก 4 สีคือ สีฟ้า
สีม่วงแดง สีเหลือง และสีดำ ไม่ดำสนิทเนื่องจากหมึกพิมพ์มีความไม่บริสุทธิ์
จึงเป็นการผสมสีแบบลบ (Subtractive) หลักการเกิดสีองระบบนี้ คือ
หมึกสีหนึ่งจะดูดกลืนแสงจากสีหนึ่งแล้วสะท้อนกลับออกมาเป็นสีต่าง ๆ เช่น
สีฟ้าดูดกลืนแสงของสีม่วงแล้วสะท้อนออกมาเป็นสีน้ำเงิน
ซึ่งจะสังเกตได้ว่าสีที่สะท้อนออกมาจะเป็นสีหลักของระบบ RGB การเกิดสีในระบบนี้จึงตรงข้ามกับการเกิดสีในระบบ
RGB
รูปที่ 4.8 สีแบบ CMYK |
HSB
เป็นระบบสีแบบการมองเห็นของสายตามนุษย์ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
รูปที่ 4.9 สีแบบ HSB |
LAB
เป็นระบบสีที่ไม่ขึ้นกับอุปกรณ์ใด ๆ
( Device Independent) โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
“L” หรือ Luminance เป็นการกำหนดความสว่างซึ่งมีค่าตั้งแต่
0 ถึง 100 ถ้ากำหนดที่ 0 จะกลายเป็นสีดำ แต่ถ้ากำหนดที่ 100 จะกลายเป็นสีขาว
“A” เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีเขียวไปสีแดง
“B” เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีน้ำเงินไปสีเหลือง
รูปที่ 4.10 สีแบบ LAB |
องค์ประกอบในการออกแบบงานกราฟิกและสื่อ
ความหมายและความเป็นมาของคอมพิวเตอร์กราฟิก
องค์ประกอบอยู่ 2 ส่วน คือ
1. อักษรและตัวพิมพ์
ตัวอักษรจะทำหน้าที่เป็นส่วนแจกแจงรายละเอียดของข้อมูล
สาระที่ต้องการนำเสนอด้วยรูปแบบและการจัดวางตำแหน่งอย่างสวยงาม มีความชัดเจน
การออกแบบ
การเลือกแบบตลอดจนการกำหนดรูปแบบของตัวอักษรที่จะนำมาใช้ต้องมีลักษณะเด่น อ่านง่าย
สวยงาม น่าสนใจ ลักษณะที่แตกต่างของตัวอักษร จึงต้องกำหนดตามสภาวะนำไปใช้โดยแบ่งออกเป็น 2
ส่วน ได้แก่ ส่วนที่เป็นหัวเรื่องหรือชื่อสินค้า
จะต้องเน้นความโดนเด่นของรูปแบบมากที่สุด
และส่วนที่เป็นข้อความหรือเนื้อหาที่ต้องการแสดงรายละเอียดต่าง ๆ นิยมใช้ตัวอักษรที่มีรูปแบบเรียบง่ายสะดวกในการอ่านมากที่สุด
2. ภาพและส่วนประกอบตกแต่งภาพ
ภาพและส่วนประกอบตกแต่งภาพที่ต้องการเน้นให้เกิดคุณค่าทางความงาม
ซึ่งจะทำหน้าที่ในการถ่ายทอดจินตนาการออกมาเป็นรูปแบบและนำเสนอแนวคิดให้เป็นรูปธรรมดาตามความคิดของตน เพื่อต้องการให้เกิดประสิทธิผลในการสื่อสารมากที่สุด
2.1 เมื่อต้องการดึงดูดความสนใจ
2.2 เมื่อต้องการใช้ประกอบการอธิบายความรู้
2.3 เมื่อต้องการคำอธิบายความคิดรวบยอด
2.4 เมื่อต้องการอ้างอิงสิ่งที่ปรากฏขึ้นจริง
2.5 เมื่อต้องการใช้ประกอบข้อมูลทางสถิติ
คุณค่าและความสำคัญของการออกแบบงานกราฟิกและสื่อ
งานกราฟิกที่ดีจะต้องทำให้เห็นถึงความคิดในการออกแบบเป็นเลิศ มีคุณค่า และความสำคัญในตัวเองที่
แสดงออกได้ ดังนี้
1.
เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมายให้เกิดความเข้าใจตรงกัน ถูกต้อง
และชัดเจน
2.
สามารถทำหน้าที่เป็นสื่อเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี
3. ช่วยทำให้เกิดความน่าสนใจ ประทับใจ
และน่าเชื่อถือแก่ผู้พบเห็น
4.
ช่วยให้เกิดการกระตุ้นทางความคิดและการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว
5. ช่วยสร้างสรรค์งานสัญลักษณ์ทางสังคม
และพัฒนาระบบการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
6. ช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ มีแนวคิดสิ่งใหม่อยู่เสมอ
7. ช่วยส่งเสริมความก้าวหน้าทางธุรกิจ และพัฒนาประเทศ
งานกราฟิกกับคอมพิวเตอร์
ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบันทำให้สามารถสร้างคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ที่มีความสามารถในด้านการคำนวณตัวเลขจำนวนมากเสร็จสิ้นภายในเวลาอันสั้นและเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก
สามารถใช้ติดต่อสื่อสารเป็นเครือข่ายวงกว่างทั่วโลก
นอกจากนี้ราคาของคอมพิวเตอร์ก็ถูกโดยเฉพาะไมโครคอมพิวเตอร์ ทำให้มีการใช้งานแพร่หลายเกือบทุกวงการ
และเมื่อนำมาใช้ในงานกราฟิกทำให้สามารถสร้างงานกราฟิกได้รวดเร็วมีคุณภาพและมีปริมาณมาก ง่ายต่อการนำไปใช้
งานกราฟิกที่ได้ยังสามารถใช้เผยแพร่ได้สะดวกกว่างไกลผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ความนิยมใช้คอมพิวเตอร์ในงานกราฟิกเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในกิจกรรม ดังนี้
งานนำเสนอข้อมูล
ในการนำเสนอข้อมูลหากข้อมูลที่นำเสนอมีเฉพาะข้อความ
ตัวเลขหรือตารางจะทำให้ผู้ฟังรู้สึกเบื่อหน่ายและอาจสื่อความเข้าใจได้ยาก ดังนั้นจึงนิยมใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการสร้างภาพกราฟิกเพื่อการนำเสนอ ข้อมูล
เช่น รายงานสรุปการเงิน คะแนนนักเรียนจำนวนประชากร ซึ่งสามารถทำเป็นรูปกราฟวงกลม กราฟเส้น
กราฟแท่ง
เพื่อแสดงถึงปริมาณหรือความสัมพันธ์ของค่าต่าง ๆ ตัวอย่างการนำเสนอข้อมูลลักษณะนี้
รูปที่ 4.11 งานนำเสนอข้อมูล |
งานออกแบบ
คอมพิวเตอร์ได้ถูกนำไปใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพในการสร้างภาพกราฟิกเพื่อออกแบบทางวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม
การออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย ( Computer Aided
Design : CAD ) นั้นได้ถูกใช้งานอย่างมากในการออกแบบสิ่งก่อสร้าง รถยนต์
เครื่องบิน ยานอวกาศ รวมทั้งการออกแบบคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่
ซึ่งมักจะถูกออกแบบในคอมพิวเตอร์ก่อนแล้วจึงนำมาสร้างจริงในภายหลัง หน้าจอของโปรแกรมในลักษณะนี้มักจะประกอบด้วยรายการเลือก หน้าต่าง
และภาพอุปกรณ์ที่กำลังออกแบบ
รูปที่ 4.12 หน้าจอของโปรแกรมช่วยออกแบบทางเครื่องกล |
ข้อดีของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ
คือ
1. การออกแบบทำได้อย่างรวดเร็ว
เรื่องจากการป้อนข้อมูลทำได้ง่ายด้วยความช่วยเหลือของส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้
(Graphical
User Interface : GUI )
2. ผู้ใช้สามารถมองเห็นงานที่ออกแบบได้โดยไม่ต้องสร้างต้นแบบจริงทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
3. ลดจำนวนการสร้างต้นแบบเพื่อการทดสอบลง
เนื่องจากผู้ใช้สามารถจำลองเพื่อดูพฤติกรรมของเครื่องบิน
4. ช่วยให้สามารถออกแบบงานที่มีความซับซ้อนสูงมากซึ่งมนุษย์จะไม่สามารถทำได้โดยปราศจากคอมพิวเตอร์ เช่น
การสร้างขึ้นส่วนอุปกรณ์
การออกแบบทางสถาปัตยกรรมการออกแบบวงจรรวม ( Integrated
Circuit : IC)
รูปที่ 4.13 การวางท่อด้วยระบบ |
งานสร้างภาพนามธรรม
คอมพิวเตอร์ใช้ข้อมูล วิธีการทางคณิตศาสตร์ และวิธีการสร้างภาพกราฟิก สร้างภาพนามธรรมซึ่งเป็นภาพกราฟิกที่ไม่มีจริงในธรรมชาติหรือภาพที่โดยปกติมีความยาก หรือ
เป็นไปไม่ได้ที่จะมองเห็นหรือเฝ้าสังเกตได้ เช่น
ภาพในภาพยนตร์ที่นักแสดงในปัจจุบันปรากฏตัวร่วมกับบรรดาบุคคลสำคัญของโลกในอดีตหรือตัวการ์ตูน ภาพห้วงอวกาศ
ภาพการเต้นของหัวใจจากมุมมองต่าง ๆ ภาพการเคลื่อนไหวของข้อต่อกระดูก
ภาพนามธรรมมีประโยชน์อย่างมากต่องานบันเทิง การแพทย์
วิทยาศาสตร์ และงานอื่น ๆ
ในชีวิตประจำวัน
การตรวจรักษาโรคของแพทย์ใช้ภาพนามธรรมที่คอมพิวเตอร์สร้างขึ้นเพื่อซ่อมแซมอวัยวะที่ผิดปกติหรือชำรุด
โดยการสร้างภาพนามธรรมของอวัยวะที่ตรวจและอาจสร้างภาพนามธรรมของอวัยวะปกติซ้อนทับไว้ แพทย์จะสามารถตรวจค้นพบความผิดปกติของอวัยวะโดยการหมุนดูภาพนามธรรมนี้ในมุมต่าง
ๆ และเมื่อจำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อให้การรักษา
ในขณะผ่าตัดแพทย์สามารถมองเห็นภาพนามธรรมของอวัยวะที่กำลังผ่าตัดได้ทุกแง่ทุกมุม ช่วยให้การผ่าตัดสะดวกและถูกต้อง
ในการผ่าตัดตบแต่งใบหน้าของผู้ประสบอุบัติเหตุ
ศัลยแพทย์สามารถสร้างภาพนามธรรมใบหน้าของผู้ป่วยขึ้นก่อนแล้วดำเนินการผ่าตัดไปตามที่กำหนด
รุปที่ 4.14 ภาพจำลองด้วยคอมพิวเตอร์ แสดงกระดูกนิ้วหัวแม่มือที่ยาวผิดปกติ |
งานด้านศิลปะ
การสร้างงานด้านศิลปะนับเป็นสิ่งสำคัญสำหรับมนุษยชาติ ศิลปินสามารถใช้สื่อต่าง ๆ
ในการถ่ายทอดจินตนาการ อารมณ์ ความรู้สึกสู่ผู้ชมงานศิลปะนั้น
คอมพิวเตอร์นับว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพในการสร้างภาพกราฟิกเพื่อสื่อความหมาย เนื่องจากมีความยืดหยุ่นในการนำเสนอได้มาก
การสร้างงานศิลปะอาจทำได้ตั้งแต่การวาดภาพโดยใช้โปรแกรมวาดภาพที่มีเครื่องมือให้สามารถใช้เมาส์แทนการใช้พู่กันและสี
ในบางโปรแกรมสามารถปรับความหนักเบาของเส้นมาช่วยทำให้การวาดภาพเป็นธรรมชาติขึ้น
บางโปรแกรมสามารถปรับแต่งภาพถ่ายมาเป็นภาพวาดสีน้ำ สีน้ำมัน
หรือแบบอื่น ๆ ได้
และยังรวมความสามารถในการเลือกพื้นผิวสำหรับวาดภาพด้วย
ในงานศิลปะการละคร ฟิล์มภาพยนตร์หรือวีดีทัศน์สามารถบันทึกภาพการแสดงได้แต่ไม่สามารถเก็บรายละเอียดท่าทางของตัวละครแต่ละตัว
การใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกจะทำให้ผู้กำกับการแสดงสามารถวิเคราะห์ออกแบบท่าทางของนักแสดง
กำกับบทบาทของตัวละครแต่ละคนบันทึกเป็นข้อมูล กำหนดฉาก
แสง และแสดงเป็นภาพการแสดงรวม ซึ่งสามารถตรวจสอบแก้ไขรายละเอียดทุกส่วน และนำไปสู่บทบาทการแสดงจริงบนเวที
คอมพิวเตอร์กราฟิกสำหรับงานศิลปะการละครจะมีลักษณะการใช้งานคล้ายกับคอมพิวเตอร์กราฟิกช่วยในการออกแบบ
รูปที่ 4.15 ภาพเลียนแบบงานศิลปะที่สร้างโดยใช้คอมพิวเตอร์ |
งานสำรวจอวกาศ
ในการสำรวจอวกาศจากนอกโลก คอมพิวเตอร์ในยานสำรวจจะบันทึกภาพต่าง ๆ เช่น
ดาวอังคาร ดวงจันทร์ ดาววีนัส
กาแล็กซี่ต่าง ๆ
เป็นข้อมูลทางดิจิทัลแล้วส่งกลับมายังฐานบนโลกซึ่งจะเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลมาเป็นภาพกราฟิก ผู้เชี่ยวชาญทางกราฟิกจะวิเคราะห์ภาพโดยใช้เทคนิคเพิ่มคุณภาพของภาพ
ซึ่งจะทำการปรับภาพตามเงื่อนไขของตัวบ่งชี้พื้นผิว
เทคนิคการเพิ่มคุณภาพของภาพสามารถเติมข้อมูลที่ผิดพลาดโดยการตรวจสอบจุดภาพข้างเคียงส่วนที่ผิดพลาดแล้ว
คาดการว่าข้อมูลภาพที่หายไปหรือไม่ทราบว่าเป็นอย่างไร ความเข้มแสงบนภาพได้รับการปรับให้ดีขึ้น
โดยใช้ข้อมูลที่มาจากข้อกำหนดของอุณหภูมิความหนาแน่นของอากาศและชั้นบรรยากาศต่าง
ๆ เทคนิคการเพิ่มคุณภาพของภาพสามารถปรับภาพสีเทาเป็นภาพสีได้
รูปที่ 4.16 ภาพดวงดาวและพื้นผิวดาว |
งานพยากรณ์อากาศ
ภาพแผนที่อากาศและคำพยากรณ์อากาศที่ปรากฏในข่าวทางทีวีในแต่ละวันเป็นงานที่เกิดจากรวบรวมข้อมูลความกดอากาศ อุณหภูมิ
ความชื้นสัมพัทธ์ ความเร็วลม
และทิศทางลมของกรมอุตุนิยมวิทยาจากหลายพื้นที่ โดยใช้ข้อมูลจากการมองเห็น ภาพสำรวจผ่านดาวเทียม สัญญาณจากเรดาร์ เครื่องวัดภาคพื้นดิน
เครื่องมือวัดจากบัลลูนอากาศแล้วป้อนเข้าสู่ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่แหล่งเก็บข้อมูลนั้น
ๆ
จากนั้นข้อมูลจำนวนมากมายนี้จะถูกส่งต่อมาประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์กรมอุตุนิยมวิทยา กรุงเทพ ฯ ซึ่งจะทำการคำนวณด้วยความเร็วสูงเพื่อจำลองสภาพของอากาศ
ผลที่ได้จะเป็นภาพกราฟิกที่เป็นภาพแผนที่อากาศและข้อมูลสำหรับพยากรณ์อากาศ
รูปที่ 4.17 แผนที่แสดงปริมาณน้ำฝนในบริเวณต่างๆของโลก |
งานกีฬา
ในสนามกีฬาหลายแห่งจะมีกระดานอิเล็กทรอนิกส์ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์สำหรับให้ข้อมูลและสร้างความสนุกสนานให้กับผู้ชมโดยแสดงภาพกราฟิก เช่น
สถิติและคะแนนการแข่งขัน
ย้อนภาพการแข่งขัน
แสดงภาพเคลื่อนไหว
แสดงความยินดีและเป็นกำลังใจ
ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของนักกีฬา
ผู้ควบคุมการฝึกสอนกีฬาสามารถใช้โปรแกรมทางกราฟิก
เช่นการนำภาพการเคลื่อนไหวร่างกายของนักกีฬาขณะวิ่งเก็บบันทึกไว้ในคอมพิวเตอร์
โดยใช้เครื่องกราดตรวจพิเศษหรือดิจิไทเซอร์ แล้วสร้างโครงร่างกายขณะเคลื่อนไหวเป็นภาพกราฟิก
รูปแบบที่สร้างขึ้นนี้สามารถนำไปใช้ในการเปรียบเทียบกัลป์ผลการวิ่งของนักกีฬาคนอื่น
ทำให้สามารถพัฒนารูปแบบการวิ่งและวิธีการเพิ่มขีดความสามารถของนักกีฬาได้
รูปที่ 4.18 การใช้คอมพิวเตอร์สร้างภาพการเคลื่อนไหวของนักกีฬา |
ประเภทของงานออกแบบกราฟิกและสื่อ
1. งานกราฟิกบนสื่อโฆษณาสิ่งพิมพ์
1.1 แผ่นป้ายโฆษณา( Poster ) เป็นสื่อที่มีความสำคัญมากในวงการประชาสัมพันธ์เพราะแผ่นป้ายโฆษณาสามารถเผยแพร่ได้สะดวกและกว้างขวาง
เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ทุกพื้นที่สามารถสื่อสารกับผู้บริโภคได้ทุกเพศทุกวัยทุกระดับการศึกษา มีความยืดหยุ่นในการออกแบบสามารถออกแบบกราฟิกได้อย่างอิสระเพื่อโน้มน้าวความรุสึกได้เป็นอย่างดี
รูปที่ 4.19 แผ่นป้ายโฆษณา (Poster) |
1.2 แผ่นพับ ( Floders ) หมายถึง สื่อโฆษณาที่เป็นสิ่งพิมพ์ประเภทไดเร็กเมล ( Direct Mail )
ที่ผู้ผลิตส่งตรงถึงผู้บริโภค
มีทั้งวิธีการส่งทางไปรษณีย์และแจกตามสถานที่ต่าง ๆ ลักษณะเด่นของแผ่นพับ
คือ มีขนาดเล็ก
หยิบง่ายให้ข้อมูลรายละเอียดได้มากพอสมควร
ผู้อ่านสามารถเลือกเวลาใดอ่านก็ผู้ออกแบบมีเทคนิคการออกแบบตามอิสระหลากหลาย ค่าใช้จ่ายในการผลิตต่ำกว่าสิ่งพิมพ์ชนิดอื่น
นอกจากนี้ยังเป็นสื่อที่ถึงเป้าหมายได้อย่างแท้จริง
รูปที่ 4.20 แผ่นพับ (Floders) |
1.3 แผ่นปลิว (Leaflets) หมายถึง
สิ่งพิมพ์เฉพาะกิจที่มีเนื้อหาสาระเรื่องใดเพียงเรื่องเดียว ได้แก่ คำแถลง
ประกาศ ชี้แจง แจ้งความ
โดยข้อความเหล่านั้นมักจะเป็นการให้ข้อมูลเพื่อแจกจ่ายไปยังกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ อาจมีวัตถุประสงค์เพื่อการโฆษณา
หรือเพื่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ก็ได้ความหมายของใบปลิวอีกลักษณะหนึ่ง คือ
แผ่นกระดาษ ข้อความที่แจกจ่ายในลักษณะที่ปกปิด
ไม่เปิดเผยเหมือใบปลิวโฆษณาสินค้าและบริการหรือประกาศเรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งเป็นการจัดทำโดยหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานใด
รูปที่ 4.21 แผ่นปลิว (Leaflets) |
1.3 บัตรเชิญ ( Cards ) เป็นสื่อโฆษณาอีกประเภทหนึ่งที่มีบทบาทในการโฆษณาประชาสัมพันธ์การออกแบบกราฟิกด้านบัตรเชิญมีอย่างกว้างขวาง นักออกแบบพยายามสร้างสรรค์รูปแบบใหม่ที่จะท้าทายให้ผู้ได้รับเชิญเกิดความรู้สึกอยากรู้อยากเห็น อยากสัมผัส บัตรเชิญเรียกได้ว่าเป็นสื่อเฉพาะกิจใช้ในโอกาสต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น เชิญเปิดร้าน เปิดกิจการ เปิดนิทรรศการ การแสดงหรือใช้โชว์สินค้า การเสนอผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ ดังนั้นการออกแบบบัตรเชิญจึงมักจะต้องมีความประณีต สวยงาม มีคุณค่าสูงในด้านศิลปะ เนื่องจากต้องการดึงดูดชักจูงให้เกิดความรู้สึกคล้อยตาม
รูปที่ 4.22 บัตรเชิญ (Cards) |
2. งานกราฟิกบรรจุภัณฑ์
บรรจุภัณฑ์ที่มีหน้าที่หลัก คือ เป็นตัวภาชนะสำหรับบรรจุสินค้า มีหลายรูปแบบแตกต่างกันไปตามลักษณะของสินค้า เช่น
หีบ ห่อ กล่อง ขวด
ลัง กระป๋อง บรรจุภัณฑ์จะมีขนาดต่าง ๆ
ตามขนาดที่บรรจุสินค้า
การออกแบบบรรจุภัณฑ์แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 3 กลุ่ม คือ
2.1 บรรจุภัณฑ์สำหรับค้าปลีก
มักออกแบบสวยงามสะดวกในการใช้สอย น่าใช้บางชนิดจะเน้นความสวยงามเป็นพิเศษ
จะมีรายละเอียดของสินค้าบรรจุอยู่ภายใน
2.2 บรรจุภัณฑ์เพื่อการค้าส่ง
เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบสำหรับบรรจุสินค้าจำนวนมาก ๆ
การกำหนดรายละเอียดจะแตกต่างออก
2.3 บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง
จะเน้นในเรื่องความสะดวก ความปลอดภัยและความประหยัดในการขนส่ง
การออกแบบฉลากของบรรจุภัณฑ์จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขและข้อกำหนดหลายอย่าง
นักออกแบบมักจะต้องสร้างภาพลักษณ์ของตัวสินค้าให้เกิดความน่าเชื่อถือ สวยงาม
ส่วนการออกแบบหีบห่อบรรจุภัณฑ์ก็มีจุดประสงค์อย่างเดียวกันกับฉลากสินค้า
แต่มีจุดเด่นเพื่อความสะดวกในการขนส่ง
รูปที่ 4.23 บรรจุภัณฑ์การค้า |
3. งานกราฟิกบนเครื่องหมายและสัญลักษณ์
สื่อที่เป็นภาพเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์
เป็นสื่อที่มีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวัน ถ้าเรามองไปรอบ ๆ
ตัวจะเห็นสื่อที่เป็นภาพเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ปรากฏอยู่ทั่วไป
การออกแบบสัญลักษณ์
นักออกแบบจะต้องใช้ความรู้ความสามารถอย่างยิ่งในการวิเคราะห์เนื้อหาสาระที่ต้องการสื่อความหมาย
ทั้งยังต้องใช้ความสามารถในการเขียนภาพหรือผลิตภาพสัญลักษณ์ให้ประณีต คมชัด
เพื่อสื่อความหมายได้อย่างถูกต้องชัดเจน
ในการออกแบบสัญลักษณ์ นักออกแบบอาจมีแรงบันดาลใจที่สำคัญมาจาก 2
แหล่งคือ
จากธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ได้แก่
ภาพดอกไม้ใบไม้ ดวงอาทิตย์ ภูเขา
ทะเล ฯนฯ
- จากรูปแบบที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่
อาคารบ้านเรือน เครื่องใช้ สิ่งของต่าง ๆ
การออกแบบสัญลักษณ์ให้บรรลุเป้าหมาย
นักออกแบบควรคำนึงถึงหลักสำคัญ 3 ประการ 8nv
- ความหมายของสัญลักษณ์
จะต้องเกี่ยวโยงกับสุนทรีภาพคือความงดงามของรูปแบบของสัญลักษณ์นั้น ๆ
- ต้องเหมาะสมกับกาลเวลาทุกยุคทุกสมัย
ควรหลักเลี่ยงสิ่งที่เป็นความนิยมชั่วคราว
- ต้องนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายประการ สามารถลอกเลียนด้วยวิธีย่อ ขยายได้ง่าย
สื่อที่เป็นภาพเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ที่มีอยู่ทั่วไป อาจแยกประเภทได้ ดังนี้
3.1 ภาพเครื่องหมายจราจร
เป็นกติกาสากลซึ่งเข้าใจร่วมกันทั่วไป
การออกแบบจะเน้นความชัดเจนของการสื่อความหมาย เข้าใจง่าย สีสันสะดุดตา
3.2 เครื่องหมายสถาบันสมาคมและกลุ่มต่าง ๆ
ซึ่งกำหนดรูปแบบเพื่อแทนหรือเป็นสัญลักษณ์ของหน่วยงานนั้นๆ
3.3 เครื่องหมายบริษัท
สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ เพื่อการสร้างเชื่อมั่นกระตุ้นความน่าสนใจในบริษัทการค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่าง
ๆ
3.4 ภาพเครื่องหมายสถานที่
เป็นเครื่องหมายที่แสดงสัญลักษณ์สถานที่ต่าง ๆ
ที่แสดงให้เข้าใจร่วมกันได้โดยไม่ต้องใช้ตัวหนังสือ ข้อความ
ซึ่งบางครั้งอาจสื่อได้ยากกว่าการใช้สัญลักษณ
3.5 ภาพเครื่องหมายกิจกรรมต่าง ๆ
เช่น การกีฬา การก่อสร้าง การประชุม ฯลฯ
3.6
เครื่องหมายที่ใช้ในการออกแบบเขียนแบบ เป็นเครื่องหมายภาพที่ใช้สื่อความหมายร่วมกันระหว่างผู้ออกแบบ เขียนแบบแปลน
และผู้อ่านแบบหรือบุคคลทั่วไปที่เกี่ยวข้อง
ในการออกแบบภาพเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์
ควรยึดหลักกว้าง ๆ เพื่อเป็นแนวคิด
ดังนี้
- แนวคิดเกี่ยวกับความงาม
- แนวคิดเกี่ยวกับความหมาย
- แนวคิดในการสร้างความเด่นและน่าสนใจ
- ความเหมาะสมในการออกแบบและการใช้งาน
รูปที่ 4.24 เครื่องหมายและสัญลักษณ์ |
4. งานกราฟิกบนสิ่งพิมพ์ทั่วไป
สิ่งพิมพ์ทั่วไปที่ต้องอาศัยงานกราฟิกช่วยในการออกแบบมีหลายประเภท เช่น
วารสาร หนังสือพิมพ์ นิตยสาร
หนังสือสำหรับเด็ก ซึ่งควรพิจารณาองค์ประกอบ ดังนี้
1. การออกแบปกหนังสือ ผู้ออกแบจะต้องจัดวางองค์ประกอบต่าง ๆ
ให้เหมาะสมสวยงาม
คำนึงถึงลักษณะของหนังสือ
ลักษณะของผู้บริโภค
อาจมีหลักที่ต้องพิจารณาถึง คือ
ประเภทหนังสือ บุคลิกของหนังสือ แนวทางสร้างสรรค์รูปแบบ วิธีการผลิต
วัสดุที่ใช้ทำปก
2. การออกแบบจัดหน้า
การออกแบบจัดหน้าของสิ่งพิมพ์แต่ละประเภทจะแตกต่างกันออกไป แต่จะสอดคล้องกับลักษณะของเนื้อหาและรูปเล่ม
3. การออกแบรูปเล่ม หนังสือแต่ละประเภทจะมีรูปเล่มแตกต่างกัน แต่ต้องคำนึงถึงความสวยงาม สะดวกในการหยิบอ่าน พกพา
การเก็บรักษา ขนาด และความหนาพอดี
รูปที่ 4.25 งานกราฟิกบนสิ่งพิมพ์ |
คอมพิวเตอร์กับการออกแบบ
การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ ( Computeraided Design ) โดยนายเอกชัย ลีลารัศมี มีชื่อย่อว่า แคด ( CAD ) เป็นการประยุกต์ของคอมพิวเตอร์ที่มีประโยชน์และมีความสำคัญต่อการพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ
ฃนำมาผนวกกับการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิต ( Computer Aided
Manufacturing ) ซึ่งมีช่อย่อว่าแคม ( CAM ) เชื่อว่าในอนาคตการผนวกกันเช้านี้จะนำไปสู่การปฏิวัติทางอุตสาหกรรมครั้งใหม่อีกครั้งหนึ่ง ภายหลังจากที่เครื่องจักรไอน้ำและเครื่องจักรกลไฟฟ้าได้ทำให้เกิดการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมมาแล้วในอดีต
ในอุตสาหกรรมยุคใหม่นี้คอมพิวเตอร์จะมีตลอดทุกขั้นตอนในการผลิต
นับตั้งแต่การออกแบจนถึงกระบวนการผลิตขั้นตอนสุดท้าย
ทั้งนี้โดยอยู่ภายใต้ระบบการสั่งงานและควบคุมของมนุษย์
รูปที่ 4.26 คอมพิวเตอร์กับการออกแบบ |
คอมพิวเตอร์กราฟิกกับเทคนิคพิเศษในภาพยนตร์
คอมพิวเตอร์กราฟิกนอกจากการใช้เป็นเครื่องมือในกาตกแต่ง ตัดต่อภาพยนตร์และควบคุมการเคลื่อนกล้อง ( Motion control ) ด้วยวิธีนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ควบคู่อุปกรณ์วัดตำแหน่งเพลาและการหมุนของมอเตอร์ที่ติดตั้งบนแท่นกล้อง ทำให้สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวกล้องภาพยนตร์ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและแลดูเป็นธรรมชาติ
ภาพที่บันทึกการเคลื่อนไหวที่เกิดจากหุ่นจำลองในทิศทางต่าง ๆ
จึงแลดูสมจริงกว่าภาพยนตร์ที่ผ่านมามาก
คอมพิวเตอร์กราฟิกถูกนำมาใช้สร้างภาพ
เทคนิคในภาพยนตร์ครั้งแรกเมื่อบริษัทวอลท์ดิสนีย์ได้เสนอภาพยนตร์เรือง ตรอน
( Tron ) ซึ่งเป็นเรื่องเป็นราวการผจญภัยของเด็กหนุ่มสาว
2
คนที่ถูกส่งเข้าไปภายในระบบคอมพิวเตอร์
ถึงแม้ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะไม่ได้ประสบความสำเร็จเท่ากับสตาร์วอร์
แต่เทคนิคพิเศษในภาพยนตร์เรื่องตรอนก็เป็นจุดเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของการนำคอมพิวเตอร์กราฟิกมาใช้สร้างเทคนิคพิเศษที่ทดแทนวิธีการแบบเก่าในอุตสาหกรรมภาพยนตร์
บริษัทพาราเมาส์พิกเจอร์ร่วมกับบริษัทลูกัสฟิล์มได้นำเสนอภาพยนตร์เรื่องสตาแทรค
2 (Star Trek II) ในภาพยนตร์เรื่องนี้มีฉากหนึ่งที่นำคอมพิวเตอร์กราฟิกมาสร้างภาพเคลื่อนไหวยาว
20 วินาที คือ ภาพแสดงโครงการเจเนชิส
ที่มีวัตถุประสงค์สร้างโลกใหม่ของมนุษย์จุดเด่นของภาพคอมพิวเตอร์กราฟิก คือ
เทคนิคที่แสดงภาพการระเบิดเป็นอนุภาคฝุ่นและกำแพงไฟที่ผิวดาวเคราะห์และขยายตัวไปอย่างรวดเร็วจนทั่วดวงดาว
รูปที่ 4.27 คอมพิวเตอร์กราฟิกกับเทคนิคพิเศษในภาพยนตร์ |
พัฒนาการของเทคนิคพิเศษได้ก้าวไปอีกขึ้นหนึ่งเมื่อบริษัทไอแอลเอ็ม ( Industrial Light & Magic :ILM ) ได้สร้างความฉงนให้กับผู้ชมภาพยนตร์ในเวลานั้นด้วยภาพยนตร์ในเวลานั้นด้วยภาพยนตร์เรื่อง
Abyss ซึ่งแสดงให้เห็นถึงเทคนิคพิเศษคอมพิวเตอร์กราฟิกที่ก้าวหน้ามากที่สุด ต่อมาบริษัทไอแอลเอ็ม ได้สร้างเทคนิคพิเศษสำหรับภาพยนตร์เรื่อง The Terminator 2 : Judgement Day ความสำเร็จของใช้เทคนิคพิเศษในภาพยนตร์ทำให้คอมพิวเตอร์กราฟิกกลายเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการสร้างสรรค์ภาพจากจินตนาการของผู้ประพันธ์ให้ปรากฏออกมาในภาพยนตร์ที่ให้ความสมจริงได้
อาจกล่าวได้ว่าการพัฒนาระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ใช้สร้างเทคนิคพิเศษส่งผลให้เกิดทางเลือกใหม่แก่ผู้ผลิตภาพยนตร์ คือ
เนื้อหาของบทภาพยนตร์ไม่ถูกจำกัด
การนำคอมพิวเตอร์กราฟิกมาใช้ทำให้เนื้อหาบทภาพยนตร์ไม่ถูกจำกัดด้วยเทคนิคและกระบวนการสร้างภาพยนตร์อีกต่อไป
ศิลปินมีความอิสระในการสร้างภาพยนตร์โดยไม่จำกัดตัวเองให้อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ในธรรมชาติ เช่นตำแหน่ง
ความเร็ว
น้ำหนักของวัตถุและกล้องในภาพยนตร์
เครื่องมือชิ้นใหม่สำหรับเทคนิคพิเศษ
คอมพิวเตอร์กราฟิกกลายเป็นเครื่องมือชิ้นหนึ่งสำหรับการสร้างเทคนิคพิเศษ เช่น
ภาพการระเบิดเปลวไฟ
การลบบางส่วนของภาพออก
รวมทั้งการนำไปใช้สร้างตัวละครประกอบในฉากจำนวนมาก ๆ
การให้ความสมจริงคุณภาพของภาพที่ปรากฏในฉากภาพยนตร์ ผู้ชมจะไม่สามารถแยกได้ว่าภาพที่ปรากฏเป็นเหตุการณ์จริงหรือเกิดจากเทคนิคพิเศษที่สร้างขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์กราฟิก
รวมทั้งการพัฒนาระบบที่เสมือนจริงซึ่งสามารถสร้างสิ่งแวดล้อมสามมิติขึ้นมารอบตัวผู้ชมได้อย่างน่าตื่นตาการลดต้นทุนการผลิต ผู้ผลิตภาพยนตร์สามารถนั้นตอนการถ่ายทำลงให้อยู่ภายในฉากเดียวกันได้ โดยเฉพาะในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมกันหลาย ๆ
เหตุการณ์ เช่น ฉากการต่อสู้เดียวกันได้ โดยเฉพาะในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมกันหลาย ๆ
เหตุการณ์ เช่น
ฉากการต่อสู้ของยานรบในอวกาศที่สับสนวุ่นวายหรือภาพฝูงไดโนเสาร์จำนวนหลายสิบตัวที่กำลังวิ่งไล่ล่ากันการปรับปรุงคุณภาพการผลิต
การผลิตภาพยนตร์ในระยะหลังได้พัฒนาทั้งระบบบันทึกภาพและเสียงที่แต่เดิมกระทำในระบบอนาล็อกได้ถูกเปลี่ยนมาใช้ระบบดิจิตอลที่ให้ภาพและเสียงคมชัด
การใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกควบคุมการเคลื่อนไหวกล้องบันทึกรวมทั้งกระบวนการหลังถ่ายทำ เช่น
การตัดต่อ และการบันทึกเสียง เป็นต้น
รูปที่ 4.28 พัฒนาของคอมพิวเตอร์กราฟิกกับเทคนิคพิเศษในภาพยนตร์ |
คอมพิวเตอร์กราฟิกเป็นรูปแบบของการสร้างสรรค์งานศิลปะที่ปราศจากข้อจำกัดซึ่งสามารถขยายพรมแดนการแสดงออกของจินตนาการ
ทำให้ศิลปินสามารถสร้างสรรค์ภาพที่ไมมี่เคยมีผู้ใดเคยเห็นมาก่อน เช่น
ภาพวัสดุที่มีขนาดเล็กหรืออยู่ห่างไกลจากความเป็นจริงด้วยระยะทางและกาลเวลาให้ปรากฏออกมาได้อย่างสมจริง
เราจะพบว่าภาพเคลื่อนไหวคอมพิวเตอร์กราฟิกนอกจากกำลังเป็นสิ่งที่ลบเส้นกั้นระหว่างจินตนาการกับความเป็นจริงที่ผู้ชมไม่อาจแยกออกจากกันได้อีกต่อไปแล้ว
ยังสามารถสนองความรู้สึกและให้ความตื่นตาตื่นใจแก่ผู้ชมในขณะที่ต้นทุนการนำคอมพิวเตอร์กราฟิกมาใช้กับอุตสาหกรรมภาพยนตร์จะมีแนวโน้มที่ต่ำลง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น