บทที่ 2 ธาตุทางทัศนศิลป์

ความเป็นมาของทัศนศิลป์

            ความเป็นมาของคำว่า ทัศนศิลป์ เกิดจากแนวความคิดของศิลปิน เบาเฮาส์ ใน เยอรมนี ซึ่งก็ตังสถาบัน เบาเฮาส์นี้ขึ้นในปี ค.ศ. 1919 และก่อตั้งได้ไม่นานก็แยกย้ายไปในประเทศต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งย้ายไปอยู่ประเทศสหรัฐอเมริกามากที่สุด และได้ตั้งสถาบันศิลปะแห่งใหม่ขึ้นมาที่นครชิคาโก ชื่อ Institute of Design โดย โมโฮลี นาจ (Mr.Moholy Nagy) และพยายามทบทวนจุดยืนทางศิลปะขึ้นใหม่ตามแนวทางทางศิลปะมีลักษณะทางวิทยาศาสตร์มายิ่งขึ้นเมื้อผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันนี้มากขึ้นจึงได้คิดค้นคำใหม่ที่เหมาะสมรัดกุมจึงได้ใช้คำว่า Visual Art แต่ความเข้าใจและความหมายของคำตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอจึงสงผลต่อการรับรู้ถึงความหมายและขอบข่ายของ Visual Art ดังนั้นจึงได้มีการทบทวนใหม่ โดยสถาบัน เบาเฮาส์ในเยอรมนี ซึ่งได้ร่วมขอบค่ายของศิลปะ 3 สาขาคือ สถาปัตยกรรม จิตกรรม และ ประติมากรรม เข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเป็น Visual Art ซึ่งในภาษาไทยเรียกว่า ทัศนศิลป์ หมายถึง ผลงานมนุษย์สร้างขึ้นให้เห็นรูปทรง 2 มิติและ 3 มิติ มีเนื้อที่ปริมาตรและเนื้อที่ บริเวณว่างตามปริมาตร ของการรับรู้ที่มีลักษณะเป็น 2 มิติและ 3 มิติ และที่สำคัญต้องสามารถมองเห็นได้นั่นเอง
รูปที่ 2.1 งานทัศนศิลป์

ประเภทของทัศนศิลป์

           ประเภทของงานศิลป์ โดยการจำแนกตามรูปแบบ

          ทัศนศิลป์ประเภท 2 มิติ ผลงานทัศนศิลป์ที่ปรากฏบนพื้นระนาบ ทั้งที่ขรุขระและเรียบทั้งนี้ปรากฏในลักษณะที่เป็นเส้น สี แสงเงาหรือลักษณะพื้นผิวใดๆที่ปรากฎบนพื้นระนาบ สร้างมิติสร้างรองรับเป็น 2 มิติ ส่วน 3 มิติ คือด้านลึกหรือหนาเป็นมิติลวงเกิดขึ้นโดยความรู้สึกของผู้ดู เช่น ภาพวาด ภาพเขียน ภาพพิมพ์ ภาพถ่าย ฯลฯ

          ทัศนศิลป์ประเภท 3 มิติ คือลักษณะจริงของมิติทั้ง 3 ประการ มีความกว้าง มีความยาว มีความลึก มีความเป็นจริงของสภาวะของมัน จึงแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ ประติมากรรม สถาปัตยกรรมและศิลปะสื่อผสม

           ทัศนศิลป์ประเภทอื่นๆ คือผลงานทัศนศิลป์ที่ไม่สามารถจัดอยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้อย่างชัดเจน เนื่องด้วยทัศนศิลป์กลุ่มนี้ได้ผสมผสานรูปแบบและวิธีแสดงออกทางศิลป์ที่มีความแปลกใหม่ อาทิเช่น ศิลปะการจัดวาง (Installation Art), มโนทัศนศิลป์ (Conceptual Art) ศิลปะสื่อแสดง (Performance Art) , แฮปแพน นิ่งอาร์ต (Happenings Art)
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประเภทของทัศนศิลป์"
รูปที่ 2.2 ประเภทของทัศนศิลป์

ลักษณะรูปแบบทัศนศิลป์ (Visual Art Sty)

            รูปแบบที่แสดงความเป็นจริง(Realisc Form)  คือรูปแบบที่ศิลป์ถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ ตามสภาวะจริงความเป็นจริงของสิ่งนั้น

            รูปแบบที่แสดงเนื้อความเป็นจริง (Surrealistic Form)  คือรูปแบบที่ศิลปินได้ถ่ายทอดเรื่องราวหรือปรากฎการณ์ต่างๆ โดยไม่ยึดถือกฎเกณฑ์หรือความถูกต้องตามความเป็นจริงจากสภาวะสิ่งนั้น ๆ

            รูปแบบปราศจากเนื้อหา (Non Figurative)  คือ ลักษณะรูปแบบของงานศิลป์ ประกอบไปด้วย 3 ส่วนสำคัญ คือ รูปแบบ เนื้อหาและวิธี ทัศนศิลป์รูปแบบนี้มีวัฒนาการตั้งแต่ปี ค.ศ.1910 โดย วาสิลี แคนดินสกี ศิลปินชาวรัสเซีย ผู้มาสร้างสรรค์ผลงานในเยอรมนีได้สร้างสรรค์ผลงานของตนขึ้น โดยสลัดเนื้อหาของผลงานทิ้งไปจนหมดสิ้น กล่าวคือ ไม่มีเนื้อหาใด ๆ ในผลงานเลยและเรียกผลงายของตนว่า Adstract Art

            กลวิธีทัศนศิลป์ (Visual Art Technique) หมายถึง กระบวนการสร้างงานทัศนศิลป์ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ส่วนประกอบ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ



โครสร้างงานทัศนศิลป์

            เป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญอย่างหนึ่ง สิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เกี่ยวกับธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม แต่ละสิ่งล้วนประกอบจากส่วนประกอบย่อย ๆ ซึ่งจะต้องรวมตัวกันเป็นกลุ่มเกิดจากการประกอบกันของมนุษย์ในการสร้างสรรค์เป็นผลงาน แต่องค์ประกอบทั้ง 2 ลักษณะต่างมีความสัมพันธ์กันทางธรรมชาติ เช่น องค์ประกอบของมนุษย์จะเป็นอวัยวะเป็นส่วนต่างๆ ได้แก่ ศีรษะ ลำตัว แขนขา ฯลฯ ส่วนคอนกรีตประกอบไปด้วย ซีเมนต์ ทราย กรวด และน้ำที่ผสมกันตามอัตราส่วน ซึ่งเป็นการประกอบกันของมนุษย์

            เนื่องจากมนุษย์ได้รับความงามจากธรรมชาติไม่เพียงพอ หรือมนุษย์อยากจะเอาชนะธรรมชาติ หรืออยากกลอกเลียนแบบความงามของธรรมชาติ มนุษย์จึงได้คิดสร้างสรรค์ผลงานขึ้นมาใหม่ โดยเอาสิ่งต่างๆ ที่ อยู่ในธรรมชาติ เช่น สี แสง เงา พื้นผิว ฯลฯ มาประกอบกันแล้วจัดรูปแบบเสียใหม่ให้เป็นไปตามที่มนุษย์ต้องการ เพื่อสนองความต้องการของตนเองและ เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน สิ่งที่มนุษย์นำมาจากธรรมชาติแล้วจัดทำใหม่นี้เอง คือองค์ประกอบศิลป์และเมื่อประกอบเสร็จสมบรูณ์ มีความกลมกลืนสวยงาม และอาจนำไปใช้สอยให้เกิดประโยชน์ อันนี้เรียกว่างานศิลปะ

            สำหรับการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความรู้สึกของมนุษย์ ในด้านความงามและเรื่องราว ซึ่งความหมายและเรื่องราวที่จะนำมาสร้างสื่อของความหมายทางทัศนศิลป์เพื่อสร้างอยู่รอบตัวศิลปิน สิ่งที่พบและเห็นที่คุ้นเคยในชีวิตประจำวัน เป็นวัตถุดิบที่นำมารวบรวมเป็นความคิดและจิตนาการ ถ่ายทอดสร้างสรรค์ ออกมาเป็นผลงานทัศนศิลป์โดยทัศนศิลป์มีองค์ประกอบของสิ่งที่สามารถสัมผัสได้ด้วยตาในลักษณะการมองเห็นได้แก่ การรับรู้ทางการมองเห็น มิติ แขนงจิตกรรม สถาปัตยกรรม


            ทัศนศิลป์แบ่งตามประเภท

  • การวาดเส้น
  • จิตกรรม บางครั้งจะแบ่งตามขบวนการทางทัศนศิลป์ เช่น Renaissance, Impressionism, Post-impressionism , Modern Art
  •  การทำภาพพิมพ์ เช่น Old master print , Woodblock painting
  • การถ่ายภาพ และการสร้างภาพยนตร์ 
  • ศิลปะคอมพิวเตอร์ 
  • ศิลปะทรงรูป (Plastic Arts) เช่นประติมากรรม


ความหมายของทัศนธาตุ


ทัศนธาตุ
          ทัศนธาตุ หมายถึง ส่วนสำคัญที่รวมกันเป็นรูปร่างของสิ่งทั้งหลายตามที่มองเห็น ได้แก่ จุด เส้น สี แสงเงา สี น้ำหนัก บริเวณว่าง และลักษณะพื้นผิวทัศนธาตุ เป็นส่วนประกอบสำคัญได้แก่ศิลปะที่สามารถนำมาจัดให้ประสารกลมกลืน เกิดเป็นผลงานศิลปะที่มีคุณค่าทางความงาม และ สื่อถึงความหมายตามความคิดของผู้สร้างสรรค์ได้ ทัศนธาตุเกิดขึ้นจากการนำเอาธาตุใดธาตุหนึ่งมาสร้างเป็นรูปร่างของบริเวณว่างขึ้นเมื่อใช้สีระบายลงบนรูปทรงทัศนธาตุจะปรากฎขึ้นทั้งเส้นสี และลักษณะผิว ฉะนั้น การรู้จักสังเกตธรรมชาติที่อยู่รอบๆ ตัวและการรู้จักเลือกสร้างสรรค์งานศิลปะทัศนธาตุ ประกอบด้วย
  1. จุด (Dot)
  2.  เส้น (Line)
  3. สี (Color)
  4. รูปร่างและรูปทรง (Shape and Form)
  5. น้ำหนัก (Value)
  6. บริเวณว่าง (Space)
  7. ลักษณะผิว (Texture)

    1. จุด (Dot) 
         จุด หมายถึง รอยหรือแต้มที่มีลักษณะกลมๆ ปรากฏที่ผิวพื้น ไม่มีขนาด ความกว้าง ความยาว ความหนา เป็นสิ่งที่เล็กที่สุดและเป็นธาตุเริ่มแรกที่ทำให้เกิดธาตุอื่นๆขึ้น
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพจุด"
ภาพที่ 2.3 ภาพจุด

    2. เส้น (Line) 
          เส้น คือจุดหลายๆจุดต่อกันเป็นสาย เป็นแนวแถวไปทางทิศใดทิศหนึ่งเป็นทางยาวหรือจุดที่เคลื่อนที่ไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งด้วยแรงผลักดันหรือรอยขูดเขียนของวัตถุเป็นรอยยาวเส้นแบ่งเป็นลอยขูดเขียนของเป็นวัตถุยาวๆ เส้นแบ่งมี 2 ลักษณะใหญ่ๆ ดั้งนี้
            1. เส้นตรง
                1.1 เส้นดิ่ง คือเส้นตรงที่ตั้งฉากกับพื้นระดับมันคง แข็งแรง สง่า รุ่งเรือง สมดุล พุ่งขึ้น
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เส้นดิ่ง
รูปที่ 2.4 ภาพลักษณะเส้นดิ่ง


                1.2  เส้นนอน คือเส้นตรงที่นอนราบไปกับพื้นระดับ ให้ความรู้สึกกว้างขวางสงบเงียบ เยือกเย็น ผ่อนคลาย
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพลักษณะเส้นนอนราบ"
ภาพที่ 2.5 ภาพลักษณะเส้นนอนราบ

                1.3 เส้นเฉียง คือ เส้นที่ไม่ตั้งฉากกับระดับให้ความรู้สึกไม่มั่นคง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพลักษณะเส้นเฉียง"
ภาพที่ 2.6 ภาพลักษณะเส้นเฉียง
                1.4 เส้นฟันปลา คือเส้นตรงหลายเส้นต่อกันสลับขึ้นลงระยะเท่ากัน ให้ความรู้สึก รุนแรง กระแทก ตื่นเต้น อันตราย ขัดแย้ง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพลักษณะเส้นฟันปลา"
ภาพที่ 2.7 ภาพลักษณะเส้นฟันปลา

                1.5 เส้นประ คือ เส้นที่ขาดเป็นช่วงๆมีระยะเท่ากัน ให้ความรู้สึกต่อเนื่อง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพลักษณะเส้นประ"
ภาพที่ 2.8 ภาพลักษณะเส้นประ

            2. เส้นโค้ง
                2.1 เส้นโค้ง เป็นเส้นที่เป็นท้องกระทะคล้ายเชือกหย่อนให้ความรู้สึกอ่อนโยน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพลักษณะเส้นโค้งลง"
ภาพที่ 2.9 ภาพลักษณะเส้นโค้งลง

                2.2 เส้นโค้งขึ้น คือเส้นที่โค้งเป็นหลังเต่าให้ความรู้สึกแข็งแก่รง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพลักษณะเส้นโค้งลง"
ภาพที่ 2.10 ภาพลักษณะเส้นโค้งขึ้น

           3. เส้นคด คือ เส้นโค้งขึ้นโค้งลงต่อเนื้องคล้ายคลื่นทะเลให้ความรู้สึกเลื่อนไหล ต่อเนื่อง อ่อนช้อย นุ่มนวล
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพลักษณะเส้นคด"
ภาพที่ 2.11 ภาพลักษณะเส้นคด

            4. เส้นก้นห้อย คือ เส้นโค้งต่อเนื่อง ก้นวนเขาลึกเล็กลงเป็นจุดคล้ายก้นห้อย ให้ความรู้สึก อึดอัด เคลื่อนไหวคลี่คลาย
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพลักษณะเส้นก้นหอย"
ภาพที่ 2.12 ภาพลักษณะเส้นก้นหอย



          5. เส้นโค้งอิสระ คือเส้นโค้งต่อเนื่องกันไปไม่มีทิศทาง คล้ายเชือกพันกัน ให้ความรู้สึกวุ่นวาย ยุ่งเหยิง ไม่เป็นระเบียบ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพลักษณะเส้นโค้งอิสระ"
ภาพที่ 4.13 ภาพลักษณะเส้นโค้งอิสระ
 3. สี (Colour)

                สีหมายถึง ลักษณะของแสงสว่างปรากฏแก่ตาให้เห็นเป็นสีขาว ดำ แดง เขียว น้ำเงิน เหลือง เป็นต้น
                1. สีที่เป็นวัตถุ (Pigment)  สีที่เป็นรงค์วัตถุสีผงหรือธาตุในร่างกายทำให้คนมาสีต่างๆ สีที่เกิดจากวัตถุธาตุจาก พืช สัตว์ แร่ธาตุเป็นตน ซึ่งเป็นสีที่ใช้ในงานศิลปะ 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สีที่เป็นวัตถุ"
ภาพที่ 2.14 สีที่เป็นวัตถุ
                   2. สีที่เป็นแสง ( Spectrum )  สีที่เกิดจากการหักเหของแสง เช่น สีรุ้ง สีจากแท่งแก้วปริซึม

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สีที่เป็นแสง"
ภาพที่ 2.15 สีที่เป็นแสง

                    แม่สี Primary Colour
              แม่สี คือ สีที่นำมาผสมกันแล้วทำให้เกิดสีใหม่ ที่มีลักษณะแตกต่างไปจากสีเดิม แมีสี มีอยู่ 2 ชนิดคือ
              1. แม่สีของแสง เกิดจากการหักเหของแสงผ่านแท่งแก้ว มี 3 สีคือ สีแดง สีเหลือง สีนำเงิน อยู่ในรูปแสงรังสี ซึ่งเป็นพลังงานชนิดเดียวที่มีสี คุณสมบัติของแสงสามารถนำมาใช้ในการถ่ายภาพโทรทัศน์ การจัดแสงสีในการแสดงต่างๆ เป็นต้น

            2. แม่สีวัตถุธาตุ เป็นสีได้มาจากธรรมชาติและการสังเคราะห์โดยกระบวนการทางเคมี มี 3 สี คือ สีแดง สีเหลือง สีนำเงิน แม่สีวัตถุธาตุเป็นแม่สีที่นำมาใช้งานกันอย่างกว้างขวาง ในวงการศิลปะ วงการอุตสาหกรรม ฯลฯ
                แม่สีวัตถุธาตุ เมื่อนำมาผสมกันตามหลักเกณฑ์ จะทำให้เกิดวงจรสีซึ่งเป็นวงสีธรรมชาติ เกิดจากการผสมกันของแม่สีวัตถุธาตุ เป็นสีหลักที่ใช้งานกันทั่วไปในวงสี

                วงจรสีธรรมชาติ
            วงจรสี เกิดจากการนำเอาแม่สีมาผสมกันเป็น 3 ขั้น มี 12 สี คือ เหลือง เหลืองเขียว เขียว เขียวน้ำเงิน น้ำเงิน น้ำเงินม่วง ม่วง ม่วงแดง แดง แดงส้ม ส้ม เหลืองส้ม หรือเรียกว่าวงล้อของสี

          1.  สีขั้นที่ 1 คือสีที่ไม่มีสีใดสามารถผสมให้ได้สีนั้นได้แก่ สีแดง สีเหลือง สีน้ำเงิน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สีขั้นที่ 1"
ภาพที่ 2.16 สีขั้นที่ 1

            2. สีขั้นที่ 2 (Secondary Colours) 
                สีขั้นที่ 2 เกิดจาการนำเอาแม่สีที่เป็นวัตถุทั้ง 3 สี มาผสมกันเกิดสีใหม่ขึ้นมาอีก 3 สี ได้แก่ สีส้ม สีเขียว สีม่วง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สีขั้นที่ 2"
ภาพที่ 2.17 สีขั้นที่ 2

           3. สีขั้นที่ 3 (Tertiory Colours)  
               เกิดจากการนำเอาสีขั้นที่ 1 กับ 2 มาผสมกัน ทีละคู่ที่อยู่ติดกัน จะได้สีเพิ่มขึ้นอีก 6 สี
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สีขั้นที่ 3"
ภาพที่ 2.18 สีขั้นที่ 3

สีแดง = ตื่นเต้น เร้าใจ อันตราย พลัง อำนาจ รัก 
สีส้ม = ตื่นตัว ตื่นเต้น เร้าใจ สนุกสนาน
สีเหลือง = สดใส ร่าเริง ฉลาด เปรี้ยว 
สีเขียวอ่อน = สดชื่น ร่าเริง เบิกบาน
สีเขียวแก่ = สะอาด ปลอดภัย สดชื่น ธรรมชาติ ชรา 
สีน้ำเงิน = สุภาพ เชื่อมั่น หนักแน่น ถ่อมตัว ผู้ชาย 
สีฟ้า = ราบรื่น สว่าง วัยรุ่น ทันสมัย
สีม่วง = ฟุ่มเฟือย ลึกลับ ขี้เหงา 
สีชมพู = ความรัก ผู้หญิง อ่อนหวาน นุ่มนวล หอม 
สีขาว = ความบริสุทธิ์ สะอาด ปลอดภัย เด็กทารก 
สีดำ = ทุกข์ ลึกลับ สืบสวน หนักแน่น 
สีเทา = สุภาพ ขรึม 
สีน้ำตาล = อนุรักษ์ โบราณ ธรรมชาติ 
สีม่วง = ร่ำรวย โอ่อ่า งอกงาม


               น้ำหนักสี ( Tone ) หรือวรรณะของสี หมายถึง ระดับความเข้มที่แตกต่างกันของสีหรือค่าความอ่อนแก่ของสี ไล่ระดับกันไป เช่น ดำ เทาเข้ม เทากลาง เทาอ่อน ขาว โทนก็มีผลต่อความรู้สึกคล้ายกับสีนั่นเอง เพียงแต่จะละเอียดอ่อนมากขึ้น มีค่าความแตกต่างกันเล็กน้อย แต่มีผลต่อความรู้สึก นึกคิด ของมนุษย์ เช่น
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ น้ำหนักของสี"
ภาพที่ 2.19 น้ำหนักของสี

            1. วรรณะสีร้อน ( Warm Tone ) ประกอบด้วยสีเหลือง สีส้มเหลือง สีส้ม สีส้มแดง สีม่วงแดง และสีม่วง สีในวรรณะร้อนนี้จะเป็นสีที่ค่อนข้างไปทางสีแดงหรือสีส้มถ้าสีใดสีหนึ่งค่อนข้างไปทางสีแดงหรือสีส้ม เช่นสีน้ำตาล สีเทาอมแดง ก็ให้ถือว่าเป็นสีวรรณะร้อน ให้ความรู้สึกร้อนแรง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สีวรรณะร้อน
รูปที่ 2.20 สีวรรณะร้อน

              2. วรรณะสีเย็น (
Cold Tone ) ประกอบด้วย สีเหลือง สีเขียวเหลือง สีเขียว สีเขียวน้ำเงิน
สี น้ำเงิน สีม่วงน้ำเงิน และสีม่วง ส่วนสีอื่นๆ ถ้าหนักไปทางสีน้ำเงินและสีเขียวก็เป็นสีวรรณะเย็น ดังเช่น สีเทา สีดำ สีเขียวแก่ เหล่านี้เป็นต้น ให้ความรู้สึกเย็นสบาย
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สีวรรณะร้อน
รูปที่ 2.21 สีวรรณะเย็น
4. รูปร่างและรูปทรง (Shape and Form)

            รูปร่าง (Shape)  หมายถึง การล้อมรอบ หรือการบรรจบกัน ของเส้น บนพื้นที่ว่าง มีรูปลักษณะ แบนราบเป็น 2 มิติ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปร่าง
รูปที่ 2.22 แสดงรูปร่าง
            รูปทรง (Form)    จะมีความสัมพันธ์ กันอย่างใกล้ชิดกับรูปร่าง แต่รูปทรง มีความแตกต่าง อย่างเห็น ได้ชัดเจนที่สุดก็คือ รูปทรงมีลักษณะเป็น 3 มิติ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปร่าง
รูปที่ 2.23 แสดงรูปทรง
5. น้ำหนัก (Value) 
          รูปร่าง (Shape)  หมายถึง เส้นรอบนอกของ วัตถุ คน สัตว์ สิ่งของ มีลักษณะเป็น 2 มิติ (กว้าง ยาว)
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แสดงค่าน้ำหนักของแสงและเงา
รูปที่ 2.24 แสดงค่าน้ำหนักของแสงและเงา
   
     แสงและเงา(Light & Shade)

     แสงและเงา เป็นองค์ประกอบที่อยู่คู่กัน แสง เมื่อส่องกระทบกับวัตถุ จะทำให้เกิดเงา

     แสงและเงา เป็นตัวกำหนดระดับของค่าน้ำหนัก ความเข้มของเงาจะขึ้นอยู่กับความเข้มของแสง ในที่ที่มีแสงสว่างมาก

     แสงและเงา เป็นองค์ประกอบที่อยู่คู่กัน แสง เมื่อส่องกระทบกับวัตถุ จะทำให้เกิดเงา

     แสงและเงา เป็นตัวกำหนดระดับของค่าน้ำหนัก ความเข้มของเงาจะขึ้นอยู่กับความเข้มของแสง ในที่ที่มีแสงสว่างมาก
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แสดงค่าน้ำหนักของแสงและเงา
รูปที่ 2.25 แสงและเงา
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อากาศที่โอบล้อมรูปทรง
รูปที่ 2.26 อากาศที่โอบล้อมรูปทรง
     6. บริเวณว่าง (Space) 
           บริเวณว่าง หรือ ช่องไฟ คือ 
1. อากาศที่โอบล้อมรูปทรง
2. ระยะห่างระหว่างรูปทรง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อากาศที่โอบล้อมรูปทรง
รูปที่ 2.27 ระยะห่างระหว่างรูปทรง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อากาศที่โอบล้อมรูปทรง
รูปที่ 2.28 บริเวณภายในรูปทรง 
3. บริเวณภายในรูปทรงที่มีลักษณะกลวงหรือทะลุเป็นช่องที่มีอากาศผ่านเข้าไปได้
4. บริเวณว่างของภาพเขียนหรือภาพที่มองดูเป็นช่องลึกเข้าไปในภาพ เรียกว่า บริเวณว่างลวงตา
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ บริเวณว่างสายตา
รูปที่ 2.29 บริเวณว่างสายตา
            7. ลักษณะผิว (Texture)

     ลักษณะผิว หมายถึง ลักษณะภายนอกของวัตถุที่มองเห็นและสัมผัสพื้นผิวได้ แสดงความรู้สึกหยาบ ละเอียด ขรุขระ มัน ด้านเป็นเส้น เป็นจุด จับดูแล้วสะดุดมือ หรือสัมผัสได้จากความรู้สึกผิวเป็นทัศนธาตุที่นำมาประกอบในการสร้างงานศิลปะ ลักษณะผิวที่แตกต่างกันจะทำให้เกิดความรู้สึกแตกต่างกัน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พื้นผิว
รูปที่ 2.30 พื้นผิว
                โดยสรุป ทัศนธาตุ ในทางทัศนศิลป์ หมายถึงส่วนประกอบที่มองเห็นได้ ประกอบด้วยจุด เส้น รูปร่าง รูปทรง พื้นผิว แสง-เงา และสี


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น