บทที่ 5 การจัดภาพ

ความหมายของการจัดภาพ

          ความหมายของการจัดภาพ  คือ  การนำเอาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวมาประกอบกับหลักการทางจิตวิทยาในเรื่องของการรับรู้และหลักการทางศิลปะมาผสมผสานกันซึ่งในความเป็นจริงมิได้มีส่วนใดในงานศิลปะที่จัดวางผิดแปลกหรือต่างไปจากธรรมชาติเลยเพียงแต่มีการจัดวางใหม่ให้ดูดีสวยงามกว่าธรรมชาติ
          การจัดภาพ  คือ  การนำทัศนธาตุที่ได้ศึกษาเรียนรู้ไปแล้วมาจัดให้เกิดภาพ  การจัดเป็นส่วนประกอบมูลฐานสำคัญในการสร้างสรรค์งานศิลปะทุกแขนง
          การจัดภาพหรือองค์ประกอบ  ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Composition หมายถึง  การนำเอาเอาทัศนธาตุต่าง ๆ รวมเข้าด้วยกัน  กำหนดการจัดวางตำแหน่งที่เหมาะสมหรือตามความต้องการ  ซึ่งสิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้มนุษย์ได้ทำขึ้นเพื่อสนองความต้องการทางด้านจิตใจ  คุณค่าของงานศิลปะแบ่งได้เป็น 2 ด้าน  คือ  การจัดภาพให้มีคุณค่าในด้านความงาม ( Aesthetic Value ) และการจัดภาพให้มีคุณค่าในด้านเรื่องราว ( Content Value )
          ความงามคืออะไร  ศาสตราจารย์ศิลป์  พีระศรี  กล่าวไว้ในหนังสือสงเคราะห์หว่า
          ความงาม  คือ  ความเป็นระเบียบและมีการประสานกลมกลืน 
          ความงาม  คือ การกำหนดความรู้สึกจากการรับรู้และเป็นการสื่อความหมาย 
          ความงาม  คือ สภาพที่เป็นไปตามแนวคิดที่ดีที่สุด 
          ความงาม  คือ ลักษณะที่เป็นไปตามธรรมชาติ  หรือคล้อยตามธรรมชาติ 
          ความงาม  คือ ความดี 
          จากข้อความดังกล่าวในเรื่องความงามนั้น  พอสรุปได้ว่า  ความงาม คือ ภาพหรือภาวะที่มีความเหมาะสมกับกาลเทศะ  ตรงตามความต้องการและรสนิยมองคนส่วนใหญ่ในสังคมซึ่งต้องประกอบไปด้วยสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นพื้นฐานเบื้องต้น


             องค์ประกอบศิลป์ในการจัดภาพ

                    องค์ประกอบศิลป์ในการจัดภาพแบ่งออกเป็นลักษณะใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
     1. การจัดภาพลักษณะตั้ง ( Dominance ) คือ  กาจัดแสดงองค์ประกอบภาพส่วนใหญ่เป็นแนวตั้งและให้ความรู้สึกแข็งแรง
     2. การจัดภาพลักษณะผ่าน ( Transition ) คือการแก้ไขภาพจากการจัดภาพลักษณะตั้งให้ลักษณะที่ดูนุ่มนวลขึ้น
รูปที่ 5.1 การจัดภาพลักษณะผ่าน
       3. การจัดภาพลักษณะนำสายตาหรือเบี่ยงเบนสายตา ( Convergence ) จะทำให้เกิดการเมืองเห็นในระยะใกล้ ไกล
รูปที่ 5.2 การจัดภาพลักษณะนำสายตาหรือเบี่ยงเบนสายตา

       4. การจัดภาพลักษณะการซ้ำ ( Repetition ) จะทำให้เกิดความเป็นระเบียบ
รูปที่ 5.3 การจัดภาพลักษณะการซ้ำ

     5. การจัดภาพในลักษณะทรงสามเหลี่ยม  ( Triangular )
รูปที่ 5.4 การจัดภาพในลักษณะทรงสามเหลี่ยม

     6. การจัดภาพในลักษณะวงกลม ( Circular)
รูปที่ 5.5 การจัดภาพในลักษณะวงกลม

     7. การจัดภาพลักษณะกระจายเป็นรัศมี ( Radiation )
รูปที่ 5.6 การจัดภาพลักษณะกระจายเป็นรัศมี


            ในการจัดภาพเราจะแสดงถึงเอกลักษณ์  ลักษณะแบบอย่างของกลุ่มชนเฉพาะว่าเป็นองกลุ่มน้อยหรือกลุ่มใหญ่  เพื่อให้ชัดเจนยิ่งขึ้น  มิผู้รู้ได้จัดแยกประเภทของการจัดภาพออกเป็น 2 ประเภท คือ 
          1.  การจัดภาพแบบสากล คือ การแสดงเรื่องราวต่าง ๆ รอบ ๆ ตัวที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ทั่วไป เรื่องราวของวิทยาศาสตร์และธรรมชาติทำให้ผู้พบเห็นเกิดความซาบซึ้งได้ง่ายมิได้กำหนดว่าเป็นเรื่องราวของชาติใด การใช้วัสดุที่เป็นอิสระไม่อยู่ในกฎเกณฑ์ รวมทั้งวิธีการก็เป็นการกระทำความนึกคิดของผู้วาดภาพเอง
          2.  การจัดภาพแบบประจำชาติ คือ การแสดงเรื่องที่ยังอยู่ในกรอบประเพณีกฎเกณฑ์ที่กระทำต่อเนื่องกันมา ฃแสดงถึงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในท้องถิ่น ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี มีความประณีตในตัว หรือยังดำเนินการตามขั้นตอนของกฎเกณฑ์เดิมอยู่ถึงแม้จะใช้วิธีใหม่ก็ตาม แต่เมื่อดูแล้วยังแสดงเอกลักษณ์ของตัวเองอยู่

         การจัดภาพของงานทัศนศิลป์

               การจัดภาพของงานทัศนศิลป์ ( Visual Art Composition) เป็นการนำเอาส่วนประกอบของความงามทัศนศิลป์มาจัดเข้าด้วยกัน โดยตัดทอนหรือเพิ่มเติมให้เหมาะสมกลมกลืนเกิดเนื้อหา เรื่องราว และความงาม แสดงถึงเอกลักษณ์เฉพาะว่าเป็นกลุ่มใด แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ
  •           การจัดภาพแบบประจำชาติ ( National Composition) 
  •           การจัดภาพแบบสากล (International Composition)




        เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพ

           กฎสามส่วน ( Rule Of Third)
            ทฤษฎีกฎสามส่วน ( Rule of Third) เป็นวิธีการง่าย ๆ ที่จะทำให้ภาพออกมาดูดี โดยหลีกเลี่ยงการว่างตำแหน่งของวัตถุหลักที่เราจะถ่ายไม่ให้อยู่ตรงจุดกึ่งกลางภาพ ซึ่งจะทำให้ภาพนั้นแข็งทื่อ ไม่ชวนมอง ดังนั้น ตำแหน่งที่เหมาะสมต่อการวางวัตถุ ควรอยู่ในตำแหน่งที่เกิดจากจุดตัดของเส้นสี่เส้นตามทฤษฎีกฎสามส่วน ซึ่งการจัดวางตำแหน่งหลักของภาพถ่ายเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สามารถทำให้เกิดผลทางด้านแนวความคิดและความรู้สึกได้ การวางตำแหน่งที่เหมาะสมของจุดสนใจในภาพเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญ
          วิธีการก็คือ  ให้ท่านสร้างเส้นสมมติ 4 เส้น  เพื่อแบ่งช่องมองภาพทั้งแนวตั้ง 2 เส้น และแนวนอน 2  เส้นเหมือนกับตีตารางเล่น O-X จุดที่เส้นทั้ง 4 ตัดกัน   คือ  ตำแหน่งที่เหมาะสมต่อการวางวัตถุหลักไว้ในบริเวณดังกล่าว  ให้เลือกจุดที่ท่านคิดว่าเหมาะสมที่สุดจุดใดจุดหนึ่ง  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภาพที่เรากำลังจะถ่ายว่ามี  ฉากหน้าฉากหลัง  เป็นอย่างไร  รวมทั้งเรื่องราวในภาพ ( มีกล้องหลายตัวที่มีฟังก์ชันในการสร้างเส้นสมมติดังกล่าวขึ้นมาใน view finder หรือ LCD เพื่อช่วยผู้ถ่ายในการอ้างอิงจุดตัด  กฎสามส่วนเช่น Fuji S9500,S9600 เป็นต้น )
รูปที่ 5.7 กฎสามส่วน

              
กฎสามส่วนกล่าวไว้ว่า  ไม่ว่าภาพจะอยู่แนวตั้งหรือแนวนอนก็ตาม   หากเราแบ่งภาพนั้นออกเป็นสามส่วนทั้งตามแนวตั้งและแนวนอน  แล้วลากเส้นแบ่งภาพทั้งสามเส้น  จะเกิดจุดตัดกันทั้งหมด  4 จัด ซึ่งจัดตัดของเส้นทั้งสี่นี้ เป็นตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับการจัดวางวัตถุที่ต้องการเน้นให้เป็นจุดเด่นหลัก ส่วนรายละเอียด ๆ นั้น เป็นส่วนสำคัญที่รองลงมา
รูปที่ 5.8 จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าจุดสนใจขะอยู่บริเวณจุดตัด ทำให้ภาพดูสมบูรณ์
รูปที่ 5.9 หรือจะจัดในตำแหน่งที่ใหล้เคียงก็ได้ ไม่จำเป็นจะต้องวางอยู่บนจุดตักพอดี
(ในรูปแยวตั้งก็เช่นเดียวกัน)
                นอกจากนี้เรายังสามารถใช้แนวเส้นแบ่ง 3 เส้นนี้ เป็นแนวในการจัดสัดส่วนภาพก็ได้อย่างการจัดวางเส้นขอบฟ้าให้อยู่ในแนวเส้นแบ่ง โดยให้ส่วนพื้นดินและท้องฟ้าอยู่ในอัตราส่วน 3:1 หรือ 1:3 แต่ไม่ควรแบ่ง 1:1
รุปที่ 5.10 อย่างการจัดวางเส้นขอบฟ้าให้อยู่ในแนวเส้นแบ่ง

         
จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า  อัตราส่วนระหว่างพื้นดินกับท้องฟ้าเป็น 1:3 นอกจากนี้ตำแหน่งจุดสนใจยังอยู่ที่บริเวณจัดตัดทำให้ภาพดูสมบูรณ์และน่าสนใจยิ่งขึ้น และเรายังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดองค์ประกอบภาพอื่น ๆ โดยใช้หลักการเดียวกัน

         ความสมดุลของภาพ

          การจัดองค์ประกอบภาพด้วยการจัดความสมดุลให้กับวัตถุหรือสิ่งต่าง ๆ ในภาพโดยอาศัยการรับรู้ถึง น้ำหนัก  และตำแหน่งของวัตถุต่าง ๆ ที่อยู่ภายในภาพนั้น ๆ โดยอาศัยหลักการ คานดีด  คานงัด  โดยมีตำแหน่งกึ่งกลางภาพเป็นจุดศูนย์กลางของตัวคานน้ำหนัก
รูปที่ 5.11 ความสมดุลของภาพ

            โดยให้ท่านจินตนาการดูว่าคานอันหนึ่งวางพาดอยู่กลางภาพ  โดยมีจุดหมุนอยู่กึ่งกลางของตัวคาน วางวัตถุลงบนตัวคานทั้ง 2 ด้าน หลักการคือ การพยายามจัดองค์ประกอบ (วัตถุ) ลงในภาพโดยให้มีความรู้สึกถึงความสมดุลของคานทั้ง 2 ฝั่ง

            การรับรู้น้ำหนักของวัตถุจากคนดู  ขณะดูภาพ

รูปที่ 5.12 การรับรู้น้ำหนักของวัตถุจากคนดูขณะดูภาพ

          วัตถุขนาดใหญ่จะมีน้ำหนักในภาพมากกว่าวัตถุที่มีขนาดเล็ก  แต่ถ้าวัตถุที่มีขนาดเล็กกว่าหากว่างในจุดที่อยู่ห่างออกไปจากจุดกึ่งกลางของคานในตำแหน่งที่เหมาะสมก็ดูมีพลังและน้ำหนักได้มากยิ่งขึ้นกว่าปกติเพื่อนำถ่วงดุลกับวัตถุที่ที่มีขนาดใหญ่กว่าอยู่ด้านหนึ่งของคานได้

         การรับรู้ถึงน้ำหนักมาก

         1) วัตถุมีขนาดใหญ่ 
         2) วัตถุมีสีเข้ม 
         3)  ตำแหน่งของวัตถุอยู่ห่างจากจุดกึ่งกลางภาพ

         การรับรู้ถึงน้ำหนักน้อย

         1) วัตถุมีขนาดเล็ก ( หรือเป็นที่ว่างในภาพ ) 
         2) วัตถุมีสีอ่อน 
         3) อยู่ใกล้กับจุดศูนย์กลางของภาพ
รูปที่ 5.13 การรับรู้น้ำหนักของวัตถุ

           ดังนั้นในการจัดองค์ประกอบของภาพนั้น  นอกจากจะต้องคำนึงถึงกฎสามส่วนแล้วควรจะนึกภาพตาช่างเสมือนไว้ในใจเสมอ  โดยพยายามวางวัตถุต่าง ๆ เพื่อให้มีการถ่วงดุลไม่จำเป็นต้องเอาวัตถุใหญ่ ๆ 2 อันมาวางไว้ทั้ง 2 ด้านของคานเพื่อให้น้ำหนักหรือสมดุลของภาพเท่ากัน แต่เป็นเรื่องของความเหมาะเจาะพอดีของ (ขนาดวัตถุ / สีสัน / โทนความเข้มอ่อนของวัตถุ) ก็ได้



     องค์ประกอบการออกแบบ ( Elements)

          1. องค์ประกอบในความคิด (Conceptual Elements) 
          องค์ประกอบในความนึกคิดไม่สามารถมองเห็นได้  ไม่มีตัวตน  แต่ดูเหมือนจะคงอยู่โดยทั่วไป  เช่น  เรารู้สึกว่ามีจุดอยู่ตรงมุมของรูปร่าง  มีเส้นอยู่บริเวณรูปร่างของวัตถุมีระนาบหุ้มห่อปริมาตร  และปริมาตรครอบคลุมพื้นที่ว่าง  แต่ว่าความจริงแล้ว องค์ประกอบเหล่านั้นไม่ได้อยู่ที่บริเวณดังกล่าวอย่างแท้จริง  เราเรียกลักษณะขององค์ประกอบทั้งหมดนี้ว่า องค์ประกอบในความนึกคิด

          2. องค์ประกอบที่มองเห็นได้ (Visual Elements) 
          องค์ประกอบที่มองเห็นได้ ( Visual Elements ) จะเป็นตัวแทนขององค์ประกอบในความนึกคิด ( Conceptual Elements ) โดยเมื่อเราเขียนจุด  เส้น  ระนาบ  หรือปริมาตรลงบนกระดาษ  เราจะไม่เพียงแต่มองเห็นความกว่างยาวเท่านั้น  แต่จะเห็นถึงสีและพื้นผิว  ซึ่งขึ้นอยู่กับวัสดุที่เราใช้และวิธีใช้  เมื่อองค์ประกอบในความนึกคิดเปลี่ยนเป็นมองเห็นได้จะแสดงให้เห็นถึงรูปร่าง  ขนาด  สี  ผิวสัมผัส  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบ

          3. องค์ประกอบที่สัมพันธ์ (Relational Elements) 
          องค์ประกอบตั้งแต่หนึ่งองค์ประกอบขึ้นไป  จำเป็นจะต้องควบคุมการจัดวางโดยคำนึงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบนี้ทิศทางและตำแหน่งการจัดวางสามารถรับรู้ได้  บางประเภทต้องอาศัยความรู้สึกจากการวิเคราะห์โดยเฉพาะเรื่องของที่ว่างและแรงดึงดูด

          4. องค์ประกอบที่นำมาใช้ประโยชน์ (Practical Elements) 
              4.1 งานที่เหมือนจริง (Representation) เมื่อรูปร่างในงานศิลปะได้ถ่ายทอดมาจากธรรมชาติหรือโลกที่มนุษย์สร้างขึ้น เราจะเรียกงานนั้นว่างานที่เหมือนจริง (Representation) ซึ่งอาจจะดูเหมือนจริงจนใกล้จะเป็นงานนามธรรม
             4.2 ความหมาย (Meaning) ความหมายของงานศิลปะแต่ละชั้นจะแสดงออกเพื่อสื่อสารสามารถแนวความคิดในการออกแบบ 
             4.3 ประโยชน์ใช้สอย (Function) ประโยชน์ใช้สอยในการออกแบบจะแสดงออกเมื่องานออกแบบนั้นสนองความต้องการทางด้านการใช้สอยของมนุษย์

          รูปแบบของทัศนศิลป์สากล
          ทัศนศิลป์สากลเกิดจากการจัดภาพแบบสากลที่ได้ผสมผสานรูปแบบต่าง ๆ เข้าด้วยกันผ่านการทดลองปรับปรุง  ดัดแปลง  เลือกสรรจนวิวัฒนาการรูปแบบเป็นที่นิยมทั่วทุกชาติโดยแบ่งรูปแบบออกตามลักษณะของงานที่สร้างสรรค์ได้  3 รูปแบบ คือ

          รูปแบบรูปธรรม (Realistic) ศิลปะแบบเหมือนจริงเป็นศิลปะที่ไม่ซับซ้อนมีเนื้อหาสาระที่ปรากฏเด่นชัดแต่ผู้สร้างและผู้ชมต้องมีความรู้เรื่องนั้นด้วย เช่น ภาพคน ภาพสัตว์ 
          รูปแบบกึ่งนามธรรม ( Semi Abstract) เป็นการถ่ายทอดที่ผิดเบนไปจากรูปธรรมหรือแบบเหมือนจริงด้วยการตัดทอดรูปทรงจากของจริงให้เรียบง่ายแต่ยังมีเค้าโครงเดิมอยู่สามารถดูรู้ว่าเป็นภาพอะไร 
            รูปแบบนามธรรม ( Abstract Art) เป็นศิลปะประเภทที่ไม่มีความจริงเหลืออยู่ เพราะถูกตัดทอดให้เหลือแค่เส้น สี น้ำหนัก ที่ก่อให้เกิดความงาม ตามอารมณ์ความรู้สึกเป็นสิ่งที่เหนือความเป็นจริงต้องใช้จินตนาการในการรับรู้รับชม
รูปที่ 5.14 ทัศนศิลป์

               คุณค่าของงานทัศนศิลป์ 
          ทัศนศิลป์เป็นศิลปะที่รับรู้ได้ด้วยสายตาการรับรู้ทางการมองเห็นในแขนงจิตรกรรมประติมากรรมและสถาปัตยกรรม ทำให้เกิดแรงกระตุ้นและตอบสนองทางด้านจิตใจพร้อมกันนั้นจิตใจของมนุษย์ก็เป็นตัวแปรค่าและกำหนดความงาม  ความประณีต  เรื่องราวและประโยชน์ต่อสังคมมนุษย์  การรับรู้คุณค่าของสิ่งเหล่านี้  รับรู้ได้ด้วยอารมณ์  ความรู้สึกของแต่ละบุคคล  ความงามและเรื่องราวจะเกิดมีคุณค่าก็เพราะการรับรู้ทางการมองเห็นเกิดความรู้สึกประทับใจ  มีความอิ่มเอิบในในคุณค่านั้น ๆ สำหรับงานทัศนศิลป์ไม่ว่ารูปแบบใดย่อมมีคุณค่าในตัวของผลงานเอง  ผลงานทัศนศิลป์สามารถแบ่งการรับรู้คุณค่าได้ 14 คุณค่า คือ
           1. คุณค่าทางความงาม (Aesthetic Value)
               เป็นการรวบรวมในเรื่องของความประณีต  ความละเอียด  มีระเบียบ  น่าทึ่งมโหฬาร  ประหลาด  แปลกหูแปลกตาและเป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางความงาม โดยเกณฑ์ของความงามที่อยู่ในงานทัศนศิลป์  ซึ่งสามารถรับรู้และยอมรับได้โดยทั่วไป  เป็นการประสานกันของส่วนประกอบต่าง ๆ ของความงาม  เช่น จุด  เส้น  รูปร่าง  รูปทรง  สี  แสงเงา  พื้นผิว  ความกลมกลืน  และการจัดภาพ  เป็นต้น  โดยผู้สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์จะแสดงออกตามความรู้สึกในแต่ละเหตุการณ์แต่ละสังคม  เพราะความงามของแต่ละสังคมย่อมมีความแตกต่างขึ้นอยู่กับสภาพของสังคมและวัฒนธรรมของสังคมนั้น ๆ

         2. คุณค่าทางเรื่องราว ( Content  Value )
              เป็นการแสดงลักษณะบ่งบอกถึงความหมายเรื่องราวความเกี่ยวข้องและจุดประสงค์แฝงอยู่ในผลงาน  สามารถบอกเนื้อหาสาระสำคัญว่ามีอะไร  จะต่อไปอย่างไรเพราะทัศนศิลป์แต่ละชิ้นนบอกเรื่องราวต่าง ๆ อยู่ในตัวเองจึงมองเห็นและเข้าใจได้ง่ายกว่าคุณค่าทางด้านความงาม

         3. คุณค่าเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์
              เป็นเรื่องราวที่นำเสนอเหตุการณ์สำคัญของคนแต่ละเชื้อชาติที่น่าสนใจ  ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของอดีต  อาจเป็นเรื่องของการต่อสู้เพื่ออิสรภาพ  การเรียกร้องสิทธิต่าง ๆ และพงศาวดารในแต่ละสมัย เรื่องราวที่นำมาถ่ายทอดสามารถปลุกเร้าอารมณ์  ความรู้สึกให้เกิดการกระตุ้นเตือนและคล้อยตามถึงความรักชาติ  รักถิ่นตน  เสียสละในด้านต่าง ๆ เช่น อนุสาวรีย์และจิตรกรรมฝาผนัง  เป็นต้น

         4. คุณค่าเรื่องราวเกี่ยวกับความเชื่อในสิ่งเร้นลับ  ศรัทธา
              มนุษย์ไม่ว่าชาติใดย่อมมีความกลัวด้วยกันทั้งสิ้น  เมื่อมนุษย์เกิดความกลัว  มนุษย์จะหาสิ่งที่มาคลี่คลายดับความกลัวให้เบาบางลง  เช่น  ความเชื่อในสิ่งเร้นลับ  เทพเจ้า  พระเจ้า  นรกสวรรค์  ภูตผี  ปีศาจ  ไสยศาสตร์  ดวงจันทร์  ดวงอาทิตย์  หรือวิญญาณ  ก่อเกิดเทวรูป  รูปปั้นและอาคารประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เป็นต้น

         5. คุณค่าเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนา  วัฒนธรรม  ประเพณี
              มนุษย์ทุกชนย่อมมีศาสนาวัฒนธรรมและประเพณีของตนเอง  และด้วยความรักความศรัทธาทำให้เกิดพลังและแรงบันดาลใจอันมหาศาลที่จะถ่ายทอดความเชื่อ  ความศรัทธาให้ผู้อื่นได้รับรู้เรื่องราวที่เกี่ยวกับศาสนา และวัฒนธรรม  จึงถูกสะท้อนผ่านจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ออกมาทางรูปแบบงานทัศนศิลป์ในหลากหลายประเภทตลอดทุกยุคทุกสมัยเปรียบเสมือนภาพจำลองเหตุการณ์  เช่น  ภาพจิตรกรรมไทย  ชาดก  พุทธประวัติ  เป็นต้น

         6. คุณค่าเรื่องราวเกี่ยวกับการเมือง  การปกครอง  เช่น  การสร้างประติมากรรมอนุสาวรีย์บุคคลสำคัญ ๆ เพื่อเป็นอนุสรณ์แสดงว่าบุคคลผู้นั้นเป็นผู้มีความสามารถในการเมืองการปกครอง

         7. คุณค่าเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของคนที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ 
             เป็นการถ่ายทอดเกี่ยวกับการเผชิญในสิ่งที่มนุษย์ได้กระทำอยู่ในแต่ละวัน  เพราะการดำรงชีวิตอยู่ของมนุษย์ในสังคมต้องการความสุขโดยอาศัยปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความสุขในแต่ละวัน  ได้แก่  จิตใจ  อารมณ์และทางด้านสังคม  ดังนั้นเรื่องราวที่นำเสนอเพื่อให้เกิดคุณค่า  เช่น  เรื่องราวของที่อยู่อาศัย  อาคาร  ยารักษาโรค  การพักผ่อนหย่องใจ  ความปลอดภัย  ความก้าวหน้าทางการศึกษา  และอาชีพ  เป็นต้น

         8. คุณค่าเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
              คุณค่าของเรื่องราวลักษณะนี้เป็นการนำเสนอในเรื่องของความงามของธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และการพึ่งพาอาศัยกันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  พร้อมทั้งเสนอแง่คิดว่าทำไมมนุษย์จึงทำลายธรรมชาติกับสิ่งแวดล้อม  และทำไมเราต้องรณรงค์ต่อต้านการทำลายธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อม  สมควรที่จะอนุรักษ์ให้อยู่คู่มนุษย์สืบไป  รูปแบบเรื่องราวได้แก่  การปลูกป่า  มลพิษจากโรงงาน  น้ำเน่าเสีย  ความงามและการทำลายธรรมชาติกับสิ่งแวดล้อม  เป็นต้น

         9. คุณค่าเรื่องราวเกี่ยวกับวรรณคดี  นิทานพื้นบ้าน  สำนวน   คำพังเพย  สุภาษิต
              เป็นการถ่ายทอดเรื่องราวจากหนังสือ  นิทานพื้นบ้าน  สำนวน  คำพังเพย  สุภาษิต  ตำนาน  พงศาวดาร  ที่สามารถบรรยายเนื้อหาเรื่องราวให้ผู้ดูได้รู้อย่างชัดเจน  โดยแสดงเป็นภาพเล่าเรื่อง  เช่น  ภาพจิตรกรรมไทย  สังข์ทอง  และรามเกียรติ์  เป็นต้น

         10. คุณค่าเรื่องราวเกี่ยวกับความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
               เป็นการนำเสนอเรื่องของความเจริญก้าวหน้าในด้านวิทยาการต่าง ๆ ที่นำพาให้ประเทศนั้น ๆ เจริญรุ่งเรือง  คุณคู่ของเรื่องราวประเภทนี้สามารถโน้มน้าวให้ผู้ชมเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย  เช่น  เรื่องราวเกี่ยวกับอุตสาหกรรม  ยานอวกาศ  วงการแพทย์  เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ และการสื่อสาร  เป็นต้น

         11. คุณค่าของงานทัศนศิลป์ต่อชีวิตและสังคม
              ชีวิตสลาย  อาณาจักรพินาศ  ผลประโยชน์ของบุคคลลายหายสิ้นไป  แต่ศิลปะเท่านั้นที่ยังคงเหลือเป็นพยานแห่งความเป็นอัจฉริยะของมนุษย์อยู่ตลอดกาล
               ข้อความข้างต้นนี้เป็นความเห็นอันเฉียบคมของท่าน ศาสตราจารย์ศิลปะ  พีระศรีผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร  แสดงให้เห็นว่างานศิลปะเป็นสมบัติอันล้ำค่าของมนุษย์ที่แสดงความเป็นอัจฉริยะบ่งบอกถึงความเจริญทางด้านจิตใจและสติปัญญาอันสูงกว่า  ซึ่งมีคุณคู่ต่อชีวิตและสังคม

         12. คุณค่าในการยกระดับจิตใจ
              คุณค่าของศิลปะอยู่ที่ประโยชน์  ช่วยจัดความโฉดความฉ้อฉลยกระดับวิญญาณความเป็นคนเห็นแก่ตน  บทกวีของเนาวรัตน์  พงษ์ไพบูลย์  กวีซีไรต์ของไทย ได้ให้ความสำคัญของงานศิลปะในการยกระดับวิญญาณความเป็นคนก็คือ  การยกระดับจิตใจของคนเราให้สูงขึ้นด้วยการได้ชื่นชมความงามและความประณีตละเอียดอ่อนของงานศิลปะ  ตัวอย่างเช่น เมื่อเรานำพรมอันสวยงามสะอาดมาปูเต็มห้อง  ก็คงไม่มีใครกล้านำรองเท้าที่เปื้อนโคลนมาเหยียบย่ำทำลายความงามของพรมไปจนหมดสิ้น  สิ่งที่มีคุณค่ามาช่วยยกระดับจิตใจของคนเราให้มั่งคงในความดีก็คือความงามของศิลปะนั่นเอง
              ดังนั้นเมื่อใดที่มนุษย์ได้ชื่นชมความงามของศิลปะเมื่อนั้นมนุษย์ก็จะมีจิตใจที่แช่มชื่นและละเอียดอ่อนตามไปด้วย  เว้นแต่บุคคลผู้นั้นจะมีสติวิปลาศ  นอกจากนี้งานศิลปะบางชิ้นยังให้ความงามและความรู้สึกถึงความดีงาม และคุณงาม จริยธรรมอย่างลึกซึ้ง เป็นการจรรโลงจิตใจให้ผู้ดูเคร่งเครียดและเศร้าหมองของศิลปินผู้สร้างสรรค์และผู้ชื่นชมได้เป็นอย่างดี  ดังนั้น  จึงมีการส่งเสริมให้เด็กสร้างงานศิลปะเพื่อผ่อนคลายความเคร่งเครียดและพัฒนาสุขภาพจิตซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของพัฒนาการต่าง ๆ อย่างสมบูรณ์

         13. คุณค่าเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
              งานจิตรกรรม  เป็นศิลปะที่สื่อความงามและความรู้สึกไปสู่ผู้ดูหรือผู้ชื่นชมได้โดยง่าย  คุณค่าเบื้องต้น  เป็นคุณค่าทางด้านจิตใจในการชมความงาม   ความละเอียดอ่อนของเส้น สี แสงเงา  และองค์ประกอบของศิลป์ต่าง ๆ ช่วยผ่อนคลายอารมณ์  และให้คติธรรม  แนวคิดในการดำรงชีวิต  และยังรักษาขนบธรรมเนียม  ประเพณีวัฒนธรรม  ศาสนา  และประวัติศาสตร์จากจิตรกรรมฝาผนังต่าง ๆ
             งานประติมากรรม เป็นศิลปะที่สื่อความงานและความรู้สึกไปสู่ผู้ดูหรือผู้ชื่นชมได้ด้วยรูปทรง และพื้นผิว โดยมีแสงสว่างมากระทบให้เกิดเงาจากมิติความตื้นลึกของรูปทรงนั้น ๆ งานสถาปัตยกรรมเป็นศิลปะที่ใช้ประโยชน์ใช้สอยมากกว่า เพราะเป็นอาคารสถานที่สูงและเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์นั่นเอง โดยเริ่มจากดูแลรักษาที่พักอาศัยต่าง ๆ เช่น กระราชวัง โบสต์ ตำหนัก วัด วิหาร เจดีย์ สถูป เป็นต้น

         14. คุณค่าของผู้ชื่นชมและสังคมส่วนรวม
              บทบาทของประชาชนทั่วไปในการใช้ประโยชน์และคุณค่าของสถาปัตยกรรมนับตั้งแต่บ้านเรือน  ที่อยู่อาศัย  โดยเริ่มต้นจากการดูแลรักษาความสะอาด  ความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในบ้าน  การใช้หลักทางศิลปะและรสนิยมส่วนตัวตกแต่งบ้านเรือนให้น่าอยู่โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประดับตกแต่งด้วยต้นไม้และพื้นที่สีเขียวภายในบ้าน  สำหรับงานทางศิลปะที่มีคุณค่าทางวิจิตรศิลป์  ดังนั้น  เราจึงควรร่วมมือกันอนุรักษ์ศิลปะทั้งจิตรกรรมประติมากรรมและสถาปัตยกรรมอันเก่าแก่ไว้สืบต่อไป


      ผลงานทัศนศิลป์ของศิลปินไทยและต่างประเทศ
  
           ศิลปินด้านจิตรกรรม
           1. อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี
           ผลงานของถวัลย์  ดัชนี  เป็นที่ยอมรับและยกย่องทั้งในและต่างประเทศ  การสร้างสรรค์ผลงานเกิดจากการนำแนวปรัชญาพุทธศิลป์มาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ศิลปะไทยร่วมสมัยที่ทรงพลัง  ลุ่มลึก  และแกร่งกร้าว  มีเนื้อหาสาระและท่วงทีที่มีชีวิตวิญญาณของความเป็นไทย  รวมถึงผสมผสานระหว่างแนวปรัชญาตะวันออกและตะวันตกเข้าไว้ในผลงาน

          2. รองศาสตราจารย์ปริญญา ตันติสุข 
          ปริญญา  ตันติสุข  สร้างสรรค์ผลงานศิลปะด้วยการนำเสนอและเข้าร่วมแสดงในนิทรรศการศิลปะสำคัญ ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างสม่ำเสมอตลอดมา  ทั้งการจัดนิทรรศการเดี่ยวและนิทรรศการกลุ่ม  ผลงานปริญญาแสดงถึงการเริ่มต้นด้วยความคิดและรูปแบบที่เกี่ยวโยงกับรูปธรรม  และเปลี่ยนแปรห่างออกไปด้วยจินตนาการและศิลปินโดยมีการประสานสัมพันธ์ของสีเป็นวิธีสำคัญจนกลายเป็นงานแบบนามธรรมไปในที่สุด

          ศิลปินด้านจิตรกรรมและสื่อผสม

          1. อาจารย์ธงชัย รักประทุม 
          ธงชัย  รักประทุม  เป็นศิลปินที่มีความเชี่ยวชาญด้านศิลปะทั้งไทยและสากลด้วยเพราะเคยได้รับทุนไปศึกษาต่อด้านศิลปะร่วมสมัยที่ประเทศอิตาลี  ธงชัยได้สร้างผลงานด้วยความมุ่งมั่นและแน่วแน่อยู่บนเส้นทางเดินของการสร้างศิลปะร่วมสมัยมาต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  ผลงานมีลักษณะเฉพาะตัวและโดดเด่น  มีเนื้อหาสาระและแนวคิดที่ก้าวลึกไปสู่วิถีชีวิตในเชิงวัฒนธรรมของสังคมยุคใหม่

          เกร็ดความรู้ 
          ศิลปะแบบสื่อผสม ( Mixed Media ) เป็นวิจิตรศิลป์  ในการนำสื่อมากกว่าสองสื่อขึ้นไปมาสร้างเป็นผลงานต่าง ๆ โดยนิยมใช้สื่อที่แตกต่างกันมานำจุดเด่นใช้ร่วมกัน  ได้แก่งานจิตรกรรม  ประติมากรรม  ภาพพิมพ์  และงานวาดเส้น  ศิลปะสื่อผสมอาจมีลักษณะเป็น 2 มิติ หรือ 3 มิติก็ได้  ศิลปะสื่อผสมนอกจากจะเป็นศิลปะสมัยใหม่แล้วยังเป็นงานสะท้อนให้เห็นสังคมในรูปแบบต่าง ๆ ด้วย เพราะปัจจุบันการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ไม่ได้อยู่แค่บนกระดาษหรือผ้าใบ  แต่เป็นการพัฒนาการสร้างผลงานผสมกันทั้งการวาดเขียน  การระบายสีกาพิมพ์  เป็นต้น ผสมผสานกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น วิดีโอ  คอมพิวเตอร์  ซึ่งเป็นสื่อใหม่ ๆ ที่มีการพัฒนาตลอดเวลาและมีความทันสมัยในปัจจุบัน

          2. ศาสตราจารย์กมล ทัศนาญชลี 
          กมล  ทัศนาญชลี  เป็นศิลปินที่ได้รับการยกย่องทั้งในและต่างประเทศ  ผลงานของกมลมีเอกลักษณ์ตามแนวทางสากลที่มีพื้นฐานจากศิลปะแบบประเพณี  วิถีชีวิตไทย มีการใช้สื่อผสมในการสร้างสรรค์งานจิตรกรรมทั้งรูปแบบ 2 มิติ 3 มิติ อาศัยเทคนิควัสดุสมัยใหม่สะท้อนการเชื่อมโยงเรื่องราววัฒนธรรมระหว่างตะวันตกและตะวันออก ทำให้ผลงานมีความร่วมสมัย

          3. ศาสตราจารย์เดชา วราชุน 
          ผลงานในช่วงแรก ๆ ของเดชา  วราชุน  เป็นผลงานภาพพิมพ์โดยใช้ประสบการณ์จากการรวบรวมข้อมูลของรูปทรงที่สนใจทั้งจากรูปทรงเรขาคณิต  และเริ่มทำงานสื่อวัสดุปะปิดด้วยการใช้มวลธาตุทางทัศนศิลป์เป็นมูลเหตุสำคัญในการสร้างผลงาน  เดชาพัฒนาภาพผลงานอย่างต่อเนื่องตามลำดับจนได้รับเกียรติเป็นศิลปินชั้นเยี่ยมประเภทภาพพิมพ์ในปี 2525 เดชาเปลี่ยนแปลงการสร้างผลงานให้จริงจังขึ้นเมื่อปี 2539 เพื่อต้องการสะท้อนให้เห็นถึงชีวิตของสังคมปัจจุบันที่ดำรงอยู่ในสิ่งแวดล้อมของความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

          ศิลปินด้านประติมากรรม

          1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์เขียน ยิ้มศิริ 
          เขียน  ยิ้มศิริ  เป็นบรมครูด้านการสร้างสรรค์งานประติมากรรมด้านวิชากรศิลปะคนสำคัญของไทย  เป็นศิลปินผู้บุกเบิกในการนำเอาคุณค่าลักษณะแนวไทยมาเป็นรูปแบบในการสร้างสรรค์ผลงาน  โดยจะเห็นได้ถึงพัฒนาการจากประติมากรรมแนวไทยประเพณีคลี่คลายมาสู่ประติมากรมแบบร่วมสมัยที่แฝงความเป็นไทยอยู่  เนื้อหาของการแสดงออกเป็นอิริยาบถต่าง ๆ ที่อ่อนซ้อยละเมียดละไมให้ความรู้สึกถึงความงามของเส้นที่เคลื่อนไหวประสานสัมพันธ์กันอย่างสมบูรณ์  จนได้รับเกียรติเป็นศิลปินชั้นเยี่ยมเมื่อปี 2496

          2. ศาสตราจารย์ชะลูด นิ่มเสมอ 
          ชะลูด  นิ่มเสมอ  ได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะหลายด้าน  ผลงานยุคแรก ๆ เป็นผลงานด้านจิตรกรรมที่แสดงวิถีชีวิตของชนบทที่แสดงถึงความสัมพันธ์  ความเอื้ออาทรที่มีในสังคม  ระยะต่อมาชะลูดได้สร้างสรรค์ผลงานด้านประติมากรรมซึ่งมีรูปแบบหลายหลาย  เช่นการนำวัสดุท้องถิ่นมาประกอบในผลงานเพื่อแสดงความผูกพันที่มีต่อชนบท  ผลงานที่มีชื่อเสียงส่วนมากจะเป็นประติมากรรมติดตั้งภายนอกอาคาร  เช่น  ผลงาน โลกุตระ  ที่หน้าอาคารศูนย์หารประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

         3. อาจารย์นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน 
          นนทิวรรธน์  จันทนะผะลิน  เป็นศิลปินที่สร้างสรรค์งานศิลปะมาอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 37 ปี  และเป็นประติมากรที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งในประเทศไทย  ผลงานที่โดดเด่นเป็นรูปทรง 3 มิติ  มีความสำคัญของเส้นและปริมาตรอันกลมกลืนงดงาม  โดยนำเสนอผ่านความรู้สึก  อารมณ์  และความปรารถนา  เพื่อให้สังคมได้ตระหนักถึงความเป็นจริงของธรรมชาติ ต่อมาในภายหลังได้สร้างสรรค์ผลงานที่มีเนื้อหาแฝงปรัชญาทางพระพุทธศาสนาผลงานของนนทิวรรธน์ได้รับรางวัลจากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติหลายครั้ง  รวมทั้งให้สร้างประติมากรรมกับสิ่งแวดล้อมทั้งในและต่างประเทศ  นอกจากนี้ยังเป็นผู้เผยแพร่ความรู้และสร้างคุณประโยชน์ทางด้านศิลปะแก่สังคมและวงการศึกษาศิลปะของไทยมาโดยตลอด

          ศิลปินด้านการพิมพ์

          1. ศาสตราจารย์เกียรติคุณประหยัด พงษ์คำ 
          ประหยัด  พงษ์คำ  เป็นศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงานที่มีแนวทางเฉพาะ  คือ  การถ่ายทอดชีวิตสัตว์ในบรรยากาศแบบไทย ๆ โดยเด่นในเรื่องการทำงานด้านภาพพิมพ์  โดยเฉพาะแม่พิมพ์แกะไม้ซึ่งได้รับการยกย่องว่ามีความเชี่ยวชาญอย่างสูง  ผลงานประหยัดสะท้อนถึงความเรียบง่ายของวิถีชนบท โดยนำเสนอผ่านเรื่องราวและลักษณะของสัตว์ต่าง ๆ

          2. อาจารย์เฉลิมศักดิ์ รัตนจันทร์
          เฉลิมศักดิ์  รัตนจันทร์ เป็นอาจารย์ผู้สอนศิลปะ  และเป็นศิลปินด้านภาพพิมพ์ที่มีความมุ่งมั่นพากเพียรในการสร้างสรรค์ผลงานตามความถนัดเฉพาะตัว  ไม่ว่าจะเป็นภาพพิมพ์ด้วยเทคนิค Silk ScreenLithograph Intaglio ซึ่งผลงานของเฉลิมศักดิ์ไม่ได้ยึดติดกับเทคนิคใดโดยเฉพาะ ปัจจุบันเฉลิมศักดิ์ดำรงตำแหน่งคณบดี (คณะศิลปะวิจิตร) สถาบันทิตพัฒนศิลป์กระทรวงวัฒนธรรม


         ศิลปินด้านสถาปัตยกรรม

         1. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
          สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์  เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  ทรงเป็นศิลปินด้านสถาปัตยกรรมพระองค์ทรงใช้เวลาส่วนใหญ่กับงานศิลปะและวิทยาการ  งานด้านสถาปัตยกรรมเป็นงานพระองค์ทรงพิถีพำถันอย่างมาก  งานสถาปัตยกรรมที่โปรดทำมากคือแบบพระเมรุผลงานที่เป็นที่รู้จักของพระองค์คือการออกแบบก่อสร้างพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรฯ และการออกแบบก่อสร้างอาคารโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร

         2. อาจารย์ประเวศ  ลิมปรังษี
          ประเวศ  ลิมปรังษี  เป็นสถาปนิกที่มีความเป็นเลิศในการออกแบบผูกลายไทยได้งดงาม  ผลงานของประเวศเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางทั้งในและต่างประเทศ  ผลงานสำคัญ เช่น  การออกแบบอุโบสถ  วัดพุธประทีปกรุงลอนดอน  บูรณะพระธาตุพนม  จังหวัดนครพนม ออกแบบฐานพระประธานพุทธมณฑล  จังหวัดนครปฐม

         ผลงานทัศนศิลป์ของศิลปินต่างประเทศที่มีชื่อเสียง

         ศิลปินต่างประเทศที่มีชื่อเสียง : ศิลปินชาย

         1. แอนดี วาร์ฮอล (Andy Warhol) ค.ศ. 1928ค.ศ. 1987
          แอนดี  วาร์ฮอล เป็นราชาแห่ง Pop Art มีชื่อเดิมว่า Andrew Warhola ในปี 1949 เขาได้เปลียนชื่อตัวเองใหม่เป็น WARHOL ผลของเขาในข่วงแรกที่ประสบความสำเร็จมากคือ ภาพ Women is Shoes ในปี 1960 ว่าร์ฮอลได้เริ่มวาดรูปที่เป็นงานแบบประชานิยม ( Pop Art ) ชิ้นแรกโดยมีรากฐานมาจากหนังสือการ์ตูนหลายเรื่อง เช่น  Dick Tracy. Popeye .Supeman จากนั้นได้ปรับปรุงงานของตนเองเรื่อยมา จนกระทั่งในปี 1962 วาร์ฮอลได้วาดภาพ Campbell is Soup อันโด่งดัง และเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นในฐานะของศิลปินแบบPop Art งานที่ค่อนข้างทำให้เขามีชื่อเสียงมากก็คืองานในแบบ Silk Screen ที่ทำเป็นรูปต่าง ๆ มากมาย และภาพเหมือนของบุคคลสำคัญต่าง ๆ ในแบบ Pop Art
          วาร์ฮอลเป็นศิลปิน Pop Artที่จับเอาอะไร ๆ ต่างในสังคมช่วงนั้นมาใส่ในงานของเขาโดยผ่านเทคนิคการใช้สีและ Style ที่เป็นแบบเฉพาะของเขาเอง และเขายังจับเอาสิ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นสิ่งธรรมดา เช่น กระป๋อง Campbell is Soupมาทำให้มีคุณค่าทางศิลปะถือได้ว่าเป็นการทำงานที่เข้าสู่ความจริงในรูปแบบใหม่ ๆ มากยิ่งขึ้น หรือที่เรียกว่า New Realism และวิธีการเช่นนี้ก็เป็นที่ชื่นชอบของผู้คนตี้งแต่ยุคนั้นจนถึงปัจจุบัน
  
          2. เดวิด ฮอคนี (David Hockney ) ค.ศ. 1937 ถึงปัจจุบัน
          เดวิด  ฮอคนี่ เป็นเจ้าพ่อ Pop Art ชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียงมาก จนเป็นแรงบันดาลในแก่วงการแฟชั่นในเรื่องสีสันและลวดลายต่าง ๆ สไตล์การแต่งกายของเขาเป็นที่ยอมรับของเหล่าดีไซน์เนอร์ ผลงานของฮอคนีส่วนใหญ่เป็นภาพของฝูงเพื่อน คนสนิท ภาพความสัมพันธ์และชีวิติประจำวัน ผลงานของเขาได้รับอิทธิพลมาจากปิกัสโซ ผลงานจะเป็นแบบ Cubism เหลี่ยม ๆ แบบ ๆ ในอิริยาบถแบบภาพถ่าย และกลายเป็น Photocubism ในเวลาต่อมาซึ่งฮอคนีให้ความใส่ใจในวิธีการสร้างงานศิลปะของเขาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

          3. ชาร์ล  ซาตชิ ( Charles Saatchi ) ค.ศ. 1943 ถึงปัจจุบัน
          ชาร์ล   ซาตชิ  เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก  เขาเป็นนักสะสมศิลปะ  และเป็นเจ้าของ Saatchi Gallery ซึ่งเป็นแกลเลอรีที่แสดงผลงานศิลปะที่เขาได้รวบรวมมาหลายปี   ผลงานของเขาได้รับอิทธิพลจากศิลปะสมัยใหม่และแบบประชานิยม   เขาได้รับความบันดาลใจจากศิลปินหลายท่านในการสร้างสรรค์   ซึ่งเขาเป็นคนที่ให้ความสนใจรายละเอียดในผลงานของเขามาก

          4. เจฟฟ์ คูนส์ ( Jeff Koons ) ค.ศ. 1955 ถึงปัจจุบัน
          เจฟฟ์  คูนส์  เป็นศิลปินชาวอเมริกันผู้มีชื่อเสียงโด่งดังมากในแวดวงศิลปะนานาประเทศ  ผลงานของคูนส์ในช่วงแรก ๆ เป็นรูปแบบ Conceptual   Sculpture ผลงานที่สร้างชื่อให้เขามีชื่อชุดว่า Equilibrium หรือดุลยภาพเมื่อปี 1985 ในทศวรรษที่ 1980 เขาสร้างสรรค์ผลงานที่มีชื่อเสียงมากคือ Michael Jackson and Bubbles ซึ่งถือเป็นงานเซรามิกที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในปี 2008 เขาได้รับเกียรติให้แสดงผลงานเดี่ยว ณ พระราชวังแวร์ชายส์ ประเทศฝรั่งเศส ปัจจุบันเขาอาศัยและทำงานส่วนใหญ่ในนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา

          5. โยชิโรโมะ นาระ (Yoshitomo Nara) ค.ศ. 1959 ถึงปัจจุบัน
          โยชิโตโมะ  นาระ เป็นศิลปิน Pop ร่วมสมัยชาวญี่ปุ่นที่โด่งดังมาก นาระได้แสดงผลงานเดี่ยวทั่งโลกมาแล้วกว่า 40 ครั้ง และเคยแสดงผลงานร่วมกับศิลปินไทยหลายครั้ง เช่น ประติมากรรม Phuket Dog และบริจาคให้กับเมืองภูเก็ต
          ปัจจุบันผลงานของนาระเป็นภาพวาดการ์ตูนเด็กผู้หญิงหน้าตาน่ารัก  แต่แฝงไว้ซึ่งความลึกลับและความน่ากลัวไว้ภายใน  โดยได้รับแรงบันดาลใจจากข่าวที่โด่งดังของญี่ปุ่นที่เด็กผู้หญิงคนหนึ่งฆ่าเพื่อนร่วมชั้นของเธอเนื่องจากว่าถูกล้อเลียน  เรื่องผมหน้าม้า  โดยเธอบอกว่าเธอกล้าทำเพราะได้รับแรงบันดาลใจจากสื่อ  ผลงานของนาระต้องการบ่งบอกว่าภายในสิ่งที่ดูน่ารักบอบบางนั้น  บางทีก็แฝงไปด้วยความน่ากลัว  หากเยาวชนที่เปรียบเสมือนผ้าขาวไม่ได้รับคำแนะนำจากผู้ปกครองในเรื่องการบริโดังของญี่ปุ่นที่เด็กผู้หญิงคนหนึ่งฆ่าเพื่อนร่วมชั้นของเธอเนื่องจากว่าถูกล้อเลียน  เรื่องผมหน้าม้า  โดยเธอบอกว่าเธอกล้าทำเพราะได้รับแรงบันดาลใจจากสื่อ  ผลงานของนาระต้องการบ่งบอกว่าภายในสิ่งที่ดูน่ารักบอบบางนั้น  บางทีก็แฝงไปด้วยความน่ากลัว  หากเยาวชนที่เปรียบเสมือนผ้าขาวไม่ได้รับคำแนะนำจากผู้ปกครองในเรื่องการบริโภคอย่างถูกต้อง  ปัจจุบันนาระอาศัยอยู่ที่ชานเมือง  กรุงโตเกียว

         ศิลปินต่างประเทศที่มีชื่อเสียง : ศิลปินหญิง

         1. จอร์เจีย โอคีฟ (Georgia O Keeffe ) ค.ศ. 1887-1986
          จอร์เจีย โอคีฟ เป็นศิลปินที่มีความสำคัญมากในวงการศิลปะในอเมริกาตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1920 โอคีฟเป็นที่รู้จักกันมากจากการผสมผสานนามธรรมและการนำเสนอเสมือนจริงในภาพวาดดอกไม้ หิน เปลือกหอย กระดูกสัตว์ และทิวทัศน์ ภาพวาดของโอคีฟนำเสนอรูปทรงโค้งที่เต็มเปี่ยมไปด้วยการไล่โทนสีต่าง ๆ อย่างหลักแหลม และโอคีฟยังนิยมแปรเปลี่ยนสิ่งวาดให้เป็นรูปนานธรรมที่เปี่ยมพลังอีกด้วย

         2. ฟรีดา คาห์โล ( Frida Kahlo ) ค.ศ. 1907- ค.ศ.1954 
         ฟรีดา  คาห์โล เป็นจิตรกรชาวเม็กซิกัน  แนวผสมแบบเหมือนจริง  สัญลักษณ์นิยมและเหนือจริง  ภาพเขียนของฟรีดาส่วนใหญ่เป็นรูปเหมือนของ   Self Porait สะท้อนชีวิตอันชื่นชมอย่างตรงไปตรงมา ผลงานของเธอสื่อความหมายเชิงสัญลักษณ์เกี่ยวกับบาดแผลทางกายและทางใจของตัวเอง แม้ว่างานของฟรีดาถูกจัดให้อยู่ในรูปแบบเหนือจริงและได้แสดงออกกับพวกลัทธิเหนือจริงของยุโรป แต่ฟรีดาไม่นับตัวเองเป็นพวกลัทธิเหนือจริงผลงานส่วนใหญ่เกี่ยวกับสตรีส่งผลให้ฟรีดากลายเป็นแม่แบบของนักสตรีนิยมในทศวรรษสุดท้ายของคริสต์ศตวรรษ ที่ 20 ฟรีดาถึงแก่กรรมเมื่อ ค.ศ. 1954 ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ศิลปะต่าง ๆ เก็บงานของเธอไว้มากมาย

         3. กีกี  สมิธ ( Kiki Smith ) ค.ศ. 1954 ถึงปัจจุบัน
         กีกี  สมิธ เป็นศิลปินอเมริกันที่จัดเป็นศิลปิน Feminist การเคลื่อนไหวทางศิลปะของเธอเริ่มต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยใช้ร่างกายของเธอเป็นศิลปะย้อมสีที่สื่อถึงความสำคัญทางการเมือง   การรอบทำร้าย   การรับรองอารมณ์ของผู้หญิง และปัญหาทางสังคมที่ซ่อนเงื่อน งานของเธอที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุด คือ ประติมากรรมด้านการสร้างวัตถุ และภาพวาดตามอวัยวะ รูปแบบการเคลื่อนที่ และระบบประสาทของมนุษย์

         4. ชิริน เนสแซต ( Shirin neshat ) ค.ศ. 1957 ถึงปัจจุบัน
          ชิริน  เนสแซต เป็นศิลปินชาวอิหร่านที่ใช้ชีวิตในนิวยอร์ก  เธอเป็นที่รู้จักในการทำงานภาพยนตร์วิดีโอและถ่ายภาพ  หลังจากเรียนจบเธอเริ่มการทำงานกับองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรที่เรียกว่าหน้าร้านศิลปะและสถาปัตยกรรม  และสถานที่แห่งนี้กลายเป็นสถานที่ที่ได้รับประสบการณ์ที่มีค่า  และมีผลให้เธอมีแนวคิดที่จะเป็นส่วนหนึ่งในงานศิลปะ
          ผลงานส่วนใหญ่ของเธอหมายถึง  สังคม  วัฒนธรรม  ศาสนา  ของสังคมมุสลิม  และความซับซ้อนบางอย่าง  เช่น  ชายและหญิง แม้ว่าวัตถุประสงค์ของผลงานเกี่ยวข้องกัลป์ศาสนาอิสลามแต่ก็ไม่ได้ขัดแย้งอย่างชัดเจน  ผลงานของเธอรับรู้ได้ทางสติปัญญาถึงเรื่องราวของศาสนาที่ซับซ้อน  รวมถึงการปรับตัวของสตรีมุสลิมทั่วโลกในปี 1996 เธอได้รับรางวัล International Award จาก XLVIII   ทำให้เธอเป็นที่รู้จักในสากลมากยิ่งขึ้น

         5. มาริโกะ โมริ (Mariko Mori) ค.ศ. 1967 ถึงปัจจุบัน
          มาริโกะ โมริ  เป็นศิลปินที่ทำผลงานโดยการนำวิดีโอและถ่ายภาพมาประยุกต์เข้ากับผลงาน  ผลงานของเธอเป็นการผสมผสานตำนานตะวันออกกับวัฒนธรรมตะวันตกซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ  ผลงานของเธอมักจะเป็น Layering ภาพถ่ายและภาพดิจิทัล เช่น ภาพเธอแสดงเป็นเจ้าแม่นิพพาน ซึ่งเป็นบทบาทแรกของเธอผ่านทางเทคโนโลยีและรูปภาพ ละทิ้งวิวทิวทัศน์ สังคมเมือง และชีวิตจริง ผลงานของเธอสร้างขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดและคมชัดที่สุดในการผลิตผลงานในยุคปัจจุบัน 

         ความสัมพันธ์ของทัศนศิลป์กับสังคม 
         ศิลปะ  จำแนกตามลักษณะการรับสัมผัสของมนุษย์ได้เป็น 3 สาขา คือ 
         1. ทัศนศิลป์ (Visual Art) ศิลปะที่รับสัมผัสด้วยการเห็นได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม 
         2. โสตศิลป์ (Aural Art) ศิลปะที่สัมผัสด้วยการฟัง ได้แก่ ดนตรีและวรรณกรรม (ผ่านการอ่านหรือร้อง) 
         3. โสตทัศนศิลป์ (Audio Visual Art) ศิลปะที่รับสัมผัสด้วยการฟังและการเห็นพร้อมกัน ได้แก่ การแสดงภาพยนตร์ 
         ศิลปะทั้ง 3 สาขามีความเกี่ยวข้องและดำเนินควบคู่ไปกับสังคม เช่น ลวดลายของเสื้อผ้า (ทัศนศิลป์) การฟังเพลง (โสตศิลป์) การดูละครโทรทัศน์ (โสตทัศนศิลป์) จะเห็นได้ว่ากิจกรรมในชีวิตประจำวันจะมีศิลปะเข้ามาร่วมด้วยเสมอ

         ผลงานทัศนศิลป์  อิทธิผลของสังคมและผลตอบรับ
         ผลงานทัศนศิลป์ที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาไม่ว่าจากศิลปินคนใด  เมื่อผลงานนั้นถูกส่งไปถึงสายตาของคนในสังคมแล้ว สิ่งที่สะท้อนกลับมาศิลปินคือผลตอบรับของสังคมที่มีต่อผลงานว่าจะชื่นชอบและเข้าใจวัตถุประสงค์ของศิลปินมากน้อยเพียงใด   ผลงานบางชิ้นอาจเป็นที่ชื่นชมและถูกยกย่องกระทั่งกลายเป็นผลงานศิลปะทางประวัติศาสตร์ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ ในทางกลับกันผลงานบางชิ้นอาจไม่เป็นที่ยอมรับและถูกต่อต้านจากสังคม  เช่น  ผลงานที่ถ่ายทอดความรู้สึกทางด้านลบของศาสนาหรือการเมือง  เป็นต้น
          จะเห็นได้ว่าผลงานทัศนศิลป์มีความสัมพันธ์และมีอิทธิพลต่อสังคมอย่างมากยกตัวอย่าง เช่น 
          - ผลงานเป็นทัศนศิลป์เป็นกระจกสะท้อนความเป็นไปของสังคมในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง  เห็นได้จากผลงานศิลปะในยุคต่าง ๆ ที่มีการถ่ายทอดเรื่องราว  ความเชื่อ  ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น  เช่น  สะท้อนความรุนแรงของสงคราว  ปัญหาสังคม  เหตุการณ์ทางการเมือง  วิถีชีวิตผู้คน  ซึ่งศิลปินได้ถ่ายทอดความรู้สึกที่มีต่อเหตุการณ์ในช่วงเวลานั้น  ผ่านทางผลงานศิลปะของตน 
          - ผลงานทัศนศิลป์ส่วนหนึ่งซึ่งนอกเหนือจากการสะท้อนภาพให้เห็นความเป็นไปในสังคมหรือสิ่งที่ศิลปินพลเห็นแล้ว  ยังมีส่วนช่วยสร้างความจรรโลงใจให้กับผู้คนในสังคมช่วยให้มีจิตใจที่ละเอียดอ่อน  เช่น  ผลงานศิลปะที่ถ่ายทอดความงามของธรรมชาติ  ประเพณี 
          - ผลงานทัศนศิลป์เป็นเครื่องมือที่ช่วยชักจูงความคิด  ความเชื่อของคนในสังคมให้เห็นคล้อยตามความคิดของศิลปิน  เช่น  ผลงานศิลปะที่ถ่ายทอดถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำลายสิ่งแวดล้อมการรณรงค์ในเรื่องต่าง ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น