บทที่ 3 กระบวนการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์
กระบวนการสร้างงานออกแบบ
1. ประวัติความเป็นมาของการออกแบบ
มนุษย์รู้จากการออกแบบมาช้านานแล้ว
จากหลักฐานที่นักโบราณคดีขุดค้นพบปรากฏเป็นที่ยืนยันได้ว่า มนุษย์สามารถออกแบบสิ่งของเครื่องใช้มานานกว่า
6,000 ปีรู้จากใช้ความคิดสร้างสรรค์ออกแบบลวดลายบนภาชนะ เช่น ลวดลายบนเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี
1.1 ความหมายของการออกแบบ
การออกแบบ(design)คือการสร้างสรรค์สิ่งใหม่หรือการปรับปรุงดัดแปลงสิ่งเก่าให้มีรูปแบบแปลกใหม่ยิ่งขึ้นโดยใช้กระบวนการทางศิลปะในการวางแผนก่อนลงมือปฎิบัติ
เลือกวัสดุโครงสร้างและวิธีการที่เหมาะสมตลอดจนคำนึงถึงความงาม และประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวัน
1.2 ลักษณะของการออกแบบ
การออกแบบที่ดี
ต้องมีลักษณะที่สื่อความหมายได้ง่ายตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ มีความประณีต
สวยงาม มีคุณค่าทางด้านประโยชน์ใช้สอยเป็นสำคัญ และจะต้องคำนึงถึงการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ วิธีการ
กระบวนการอย่างเหมาะสมอีกด้วย
1.3 ประเภทของการออกแบบ
การออกแบบมีหลายประเภท
ซึ่งแต่ละประเภทจะมีลักษณะและคุณค่าทางด้านความงามและประโยชน์ใช้สอยที่แตกต่างกันออกไปดังนี้
การออกแบบตกแต่ง คือ
เพื่อปรับปรุงตกแต่งสภาพแวดล้อมและชีวิตความเป็นอยู่ของคนเราโดยมุ่งประโยชน์ใช้สอยและความงามเป็นหลัก
การออกแบบตกแต่งที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวันดังกล่าว ได้แก่
การออกแบบตกแต่งภายในและการออกแบบตกแต่งภายนอก
การตกแต่งภายใน คือ
การสร้างสภาพแวดล้อมภายในอาคารที่เกี่ยวข้องกับการเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ให้เกิดความสะดวกสบายในด้านประโยชน์ใช้สอยและความงาม
โดยอาศัยเหตุผลทางพฤติกรรมและข้อมูลต่างๆของมนุษย์เป็นหลัก
การออกแบบภาพนอก คือ
การสร้างสภาพแวดล้อมภายนอกอาคารที่เกี่ยวข้องกับการเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ให้เกิดความสะดวกสบายในด้านประโยชน์ใช้สอยและความงามในรูปแบบ โดยอาศัยเหตุผลทางพฤติกรรมและข้อมูลต่างๆของมนุษย์เป็นหลัก
2. การออกแบบพาณิชยศิลป์
การออกแบบพาณิชยศิลป์ คือ
การออกแบบที่เกี่ยวกับธุรกิจการค้า
การโฆษณา ประชาส้มพันธ์สู่กลุ่มเป้าหมาย คือ
ผู้บริโภค
เพื่อให้ผู้บริโภคได้รู้จากสินค้าที่มาอยู่ในท้องตลาดจะได้เลือกบริโภคอย่างเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจของแต่ละบุคคล
การออกแบบผลิตภัณฑ์ คือ การออกแบบสิ่งของ เครื่องใช้ต่างๆ ภายในครัวเรือน ภายในสำนักงานที่มีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ในชีวิต
ประจำวันของมนุษย์โดยคำนึงถึงความทันสมัย ความสวยงามและประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก
การออกแบบนิเทศศิลป์ คือ การออกแบบติดต่อสื่อสาร สื่อความหมาย
ความเข้าใจทางสายตาเป็นการส่งข้อมูลข่าวสารจากบุคคลกลุ่มหนึ่ง ไปยังบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งทั้งทางการเขียน การแสดงด้วยท่าทางจนกระทั่งการใช้สื่อต่างๆ
การสร้างสรรค์งานจิตรกรรม
จิตรกรรม
เป็นผลงานทัศนศิลป์แขนงหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องสัมพันธุ์กับการวาดเขียนและระบายสี
มีลักษณะทั่วไปเป็นผลงานบนแผ่นพื้น 2 มิติ
แต่ใช้กระบวนการเพื่อสร้างภาพลวงตาให้เกิดเป็น 3 มิติ โดยใช้สีชนิดต่างๆ เช่น
สีน้ำ สีน้ำมัน สีฝุ่น ฯลฯ เป็นสื่อกลางในการแสดงออกถึงเจตนาในการสร้างสรรค์
โดยทั่วไปแล้ว จิตรกรรมมีหลายเรื่องราวที่ศิลปินนิยมนำมาสร้างสรรค์
ได้แก่
- จิตรกรรมประเภทหุ่นนิ่ง (Still Life)
- จิตรกรรมประเภทภาพทิวทัศน์ (Landscape)
- จิตรกรรมประเภทภาพคน (Portrait)
- จิตกรรมประเภทภาพสัตว์ (Animals)
- จิตรกรรมประเภทเรื่องราวจากศาสนา ประวัติศาสตร์ และวรรณคดี (Religion , History and Literature)
ประเภทของจิตรกรรม
จำแนกได้ตามลักษณะผลงานที่สิ้นสุด และ วัสดุอุปกรณ์การสร้างสรรค์เป็น 2
ประเภท คือ ภาพวาด และ ภาพเขียน
1. จิตรกรรมภาพวาด (Drawing) เรียกเป็นศัพท์ทัศนศิลป์ภาษาไทยได้หลายคำ คือ ภาพวาดเขียน ภาพวาดเส้น
หรือบางท่านอาจเรียกด้วยคำทับศัพท์ว่า ดรอวิ้ง(Drawing) ก็มี ปัจจุบันได้มีการนำอุปกรณ์
และเทคโนโลยีที่ใช้ในการเขียนภาพและวาดภาพ ที่ก้าวหน้าและทันสมัยมากมาใช้
ผู้เขียนภาพจึงจึงอาจจะใช้อุปกรณ์ต่างๆมาใช้ในการเขียนภาพ ภาพวาดในสื่อสิ่งพิมพ์
สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.1 ภาพวาดลายเส้น
รูปที่ 3.1 ภาพวาดลายเส้น |
1.2 การ์ตูน
รุปที่ 3.2 ภาพการ์ตูน |
2. จิตรกรรมภาพเขียน (Painting) ภาพเขียนเป็นการสร้างงาน 2
มิติบนพื้นระนาบด้วยสีหลายสีซึ่งมักจะต้องมีสื่อตัวกลางระหว่างวัสดุกับอุปกรณ์ที่ใช้เขียนอีก
ซึ่งกลวิธีเขียนที่สำคัญ คือ
1. การเขียนภาพสีน้ำ (Colour
Painting)
2. การเขียนภาพสีน้ำมัน (Oil
Painting)
3. การเขียนภาพสีอะคริลิค (Acrylic Painting)
4. การเขียนจิตรกรรมฝาผนัง (Fresco Painting)
5. จิตรกรรมแผง(Panel
Painting)
รูปที่ 3.3 ภาพโมนาลิซ่า |
ลักษณะของภาพจิตรกรรม
งานจิตรกรรมที่นิยมสร้างสรรค์ขึ้นมีหลายลักษณะดังนี้ คือ
1. ภาพหุ่นนิ่ง (Sill life) เป็นภาพวาดเกี่ยวกับสิ่งของเครื่องใช้ หรือ วัสดุต่าง ๆ ที่ไม่มีการ
เคลื่อนไหว เป็นสิ่งที่อยู่กับที่
รูปที่ 3.4 ภาพหุ่นนิ่ง |
2. ภาพคนทั่วไป แบ่งได้ 2 ชนิด
2.1 ภาพคน (Figure) เป็นที่แสดงกิริยาท่าทางต่างๆของมนุษย์โดยไม่เน้นแสดงความเหมือนของใบหน้า
2.2 ภาพคนเหมือน (Potrait) เป็นภาพที่แสดงความเหมือนของใบหน้าคนใดคนหนึ่ง
รูปที่ 3.5 ภาพคนทั่วไป |
3. ภาพทิวทัศน์ (Landscape) เป็นภาพที่แสดงความงามหรือความประทับใจในความงามของธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมของศิลปินผู้วาดภาพทิวทัศน์ลักษณะต่างๆได้อีก
คือ
3.1 ภาพทิวทัศน์ผืนน้ำหรือทะเล
3.2 ภาพทิวทัศน์พื้นดิน
3.3 ภาพทิวทัศน์ของชุมชนหรือเมือง
รูปที่ 3.6 ภาพทิวทัศน์ |
4. ภาพประกอบเรื่อง (IIIustation) เป็นภาพที่เขียนขึ้นเพื่อบอกเล่าเรื่องราวหรือถ่ายทอดเหตุการณ์ต่างๆให้ผู้อื่นได้รับรู้ โดยอาจเป็นทั้งภาพหรือประกอบเรื่องในหนังสือพระคัมภีร์หรือเขียนบนฝาผนัง
อาคาร สถาปัตยกรรมต่าง ๆ และรวมถึงภาพโฆษณาต่าง ๆ ด้วย
รูปที่ 3.7 ภาพประกอบเรื่อง |
5. ภาพองค์ประกอบ (Composition) เป็นภาพที่แสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของศิลปะและลักษณะในการจัดองค์ประกอบเพื่อให้เกิดความรู้สึกต่าง
ๆ
โดยอาจไม่เน้นแสดงเนื้อหาเรื่องราวที่มาจากความประทับใจโดยไม่ยึดติดกับความเป็นจริงตามธรรมชาติ
รูปที่ 3.8 ภาพองค์ประกอบ |
6. ภาพลวดลายตกแต่ง (Decorative Painting) เป็นภาพวาดลวดลายประกอบเพื่อตกแต่งสิ่งต่างๆ ให้เกิดความสวยงามขึ้น เช่น การวาดลวดลายประดับอาคาร เป็นต้น
รูปที่ 3.9 ภาพลวดลายตกแต่ง |
การสร้างสรรค์งานจิตรกรรมสีน้ำ
การสร้างสรรค์งานจิตรกรรมสีน้ำจะต้องมีขั้นตอนและอุปกรณ์ที่ใช้สร้างสรรค์งานจิตกรรม
เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์จิตกรรมสีน้ำ ประกอบด้วย
1. ดินสอ
รูปที่ 3.10 ดินสอน้ำ |
วิธีใช้และเก็บรักษา
ใช้ในการร่างภาพต่างๆเมื่อใช้เสร็จแล้วให้นำเก็บใส่กล่อง
2. ยางลบ
รูปที่ 3.11 ยางลบ |
วิธีใช้และเก็บรักษา
ใช้ลบดินสอเมื่อใช้เสร็จแล้วทำความสะอาดโยการใช้นิ้วถูสิ่งสกปรกออกแล้วเก็บใส่กล่อง
3. กระดาษวาดเขียน
รูปที่ 3.12 สมุดวาดเขียน |
วิธีใช้และเก็บรักษา
ใช้เป็นพื้นรองรับภาพที่วาดและทำงานศิลปะอื่นๆ ไม่ควรเก็บด้วยการหัก พับ หรืองอ
4. จานสี
รูปที่ 3.13 จานสี |
วิธีใช้และเก็บรักษา
ใช้แบ่งสีออกหลอด ล้างทำความสะอาดแล้วเช็ดให้แห้ง
5. พู่กัน
รูปที่ 3.14 พู่กัน |
วิธีใช้และเก็บรักษา ใช้ระบายสีโปสเตอร์ ล้างน้ำให้สะอาดแล้วลูบให้เรียวแหลม ทิ้งไว้ให้แห้งแล้วเก็บใส่กล่องเพื่อไม่ให้บิดงอ
6. สีดินสอ(สีไม้)
รูปที่ 3.1 สีดินสอ (สีไม้) |
วิธีใช้และเก็บรักษา ใช้ระบายสี
เมื่อใช้เสร็จให้เก็บใส่กล่อง
7. สีน้ำ
รูปที่ 3.16 สีน้ำ |
วิธีใช้และเก็บรักษา ใช้ระบายสี
บีบออกแล้วผสมน้ำ เสร็จแล้วให้ปิดฝาจนแน่นแล้วเก็บใส่กล่อง
8. สีโปสเตอร์
รูปที่ 3.17 สีโปสเตอร์ |
วิธีใช้และรักษา ใช้ระบายสี
ถ้าใช้เสร็จแล้วให้ปิดฝาจนสนิทก่อนนำไปเก็บเพื่อป้องกันสีแห้ง
9. ฟองน้ำ (Sponge) เป็นส่วนช่วยในการทาน้ำบนกระดาษที่ได้ผลเร็ว
รูปที่ 3.18 ฟองน้ำ |
10. ผ้าเช็ดพู่กัน (Clothes)
รูปที่ 3.19 ผ้าเช็ดพู่กัน |
11. ภาชนะใส่น้ำ (Vessed)
รูปที่ 3.20 ภาชนะใส่น้ำ |
12. กระดาษสเกตช์และตัวหนีบ(Board and Clip) กระดาษสเกตช์จะด้วยไม้อัดแผ่นเรียบหรือกระดาษหนาแข็ง
รูปที่ 3.21 กระดานสเกตซ์และตัวหนีบ |
13. ขาตั้งเขียนภาพและเก้าอี้นั่ง (Easel and Chari)
รูปที่ 3.22 ขาตั้งเขียนภาพและเก้าอี้ |
สารละลายประกอบวาดภาพสีน้ำ
โดยปกติสารละลายที่ใช้ในการละลายสีน้ำ
คือน้ำสะอาด แต่ถ้าต้องการความพิเศษในการระบาย จะต้องใช้สารชนิดอื่นๆได้แก่
1. Gumarabic ใช้ผสมสารป้องกันการกระจายของเนื้อสีเมื่อต้องการระบายสีแบบเปียกซ้อนเปียก
2. Watercolour Gel ใช้ผสมเพื่อช่วยให้เนื้อสีหนา
3. Wetting Agent เป็นสารที่ใช้ผสมเพื่อลดความตึงของพื้นผิวและช่วยผิวซับน้ำได้ดี
4. Glycerine ให้หยดบนสีในจานสีเพื่อป้องกันสีแตกแห้ง
5. Varnishing เป็นสารละลายที่ใช้เคลือบผิวหน้าหลังจากวาดเสร็จและแห้งดีแล้ว
6. Masking Fluid น้ำยาทากันน้ำ
การร่างภาพ การร่างภาพ
ก่อนลงมือร่างภาพต้องคำนึงถึงเรื่องหลักเกณฑ์ขององค์ประกอบศิลป์
คือ
1. จุดสนใจ คือ สิ่งที่กำหนดให้เป็นส่วนสำคัญ
ซึ่งเป็นจุดสนใจที่ผู้ชมเห็นเป็นสิ่งแรกเมื่อมองภาพ
2. ความสมดุล (Balance) คือ ความพอดี ความลงตัวในภาพ
3. เอกภาพ (Unity) คือ ความเป็นหนึ่งเดียวใน
เทคนิคการใช้สีน้ำ
1. วิธีเปียกซ้อนเปียก คือ
สีจะชุ่มน้ำทั้งภาพ ใช้น้ำทากระดาษให้เปียกชุ่มแล้วจึงลงสี
2. วิธีการซ้อนแห้ง คือ
สีบนกระดาษไม่ชุ่มน้ำ
3. วิธีการแปรงแห้ง คือ
การเขียนด้วยแปรงแห้งคือการผสมสีพอกับน้ำพอหมาดๆ
การสร้างสรรค์งานประติมากรรม
ประติมากรรม
เป็นผลงานศิลปะแบบหนึ่งซึ่งมนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นด้วยความรู้สึกประทับใจ
บันดาลใจในธรรมชาติ โดยมีนัยศิลปะเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นรูปทรง 3
มิติกินระวางเนื้อในอากาศ
ประเภทงานประติมากรรม
ประติมากรรมแบ่งได้ 3 ประเภท ดังนี้
1. ประเภทนูนต่ำ
สร้างข้นเพื่อตอบสนองความคิดทางด้านความงามในการประดับตกแต่งอาคารทางสถาปัตยกรรมเพื่อการสร้างศิลปะรับใช้ศาสนาและสังคมมนุษย์เป็นส่วนใหญ่ต่อมาก็สร้างศิลปะเกิดขึ้น
2. ประเภทนูนสูง คือ
จะมีรูปทรงและมวลผลปริมาตรความนูนสูงขึ้นมาจากฐานรองรับที่เป็นพื้นหลังภาพตั้งแต่ครึ่งหน้าของรูปจริงขึ้นไป
3. ประเภทลอยตัว
สามารถมองเห็นได้รอบด้าน
ลักษณะงานประติมากรรม
เป็นผลงานที่สร้างขึ้นตามชนิดของวัสดุที่มีอยู่หลากหลายทั้งในธรรมชาติและวัสดุจากการประดิษฐ์คิดค้นขึ้น
แบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ
1. การปั้น
โดยการใช้วัสดุที่มีเนื้ออ่อน เช่น ดินเหนียว ดินน้ำมัน
2. การแกะสลัก โดยใช้วัสดุเนื้อแข็ง
เช่น ไม้ หิน งาช้าง
3. การหล่อ เพื่อให้ได้ผลงานคงทน
และเพิ่มจำนวนชิ้นงานตามความต้องการ
4. การประกอบขึ้นรูป คือการสร้างรูปแบบ
3 มิติ
การสร้างสรรค์งานภาพพิมพ์
ภาพพิมพ์ คือ
ร่องรอยที่ทำให้เกิดขึ้นโดยการพิมพ์
จะต้องกระทำบนวัตถุอันหนึ่งก่อนแล้วจึงกดทับรอยบนวัสดุอีกอันหนึ่งแบ่งออกตามกระบวนการสร้างสรรค์ได้ 4 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
1. กรรมวิธีพิมพ์จากส่วนนูน คือ
การสร้างงานภาพพิมพ์ด้วยกรรมวิธีสร้างแม่พิมพ์โยนำวัสดุที่มีเนื้อแข็งพอสมควรและแกะส่วนที่ไม่ต้องการออก
2. กรรมวิธีพิมพ์จากส่วนร่องลึก คือ
สร้างด้วยแผ่นทองแดง เหล็ก หรือ สังกะลีด้วยวิธีการขูดพื้นผิวออกบางส่วน
3. กรรมวิธีพิมพ์จากส่วนผิวพื้น คือ
การสร้างบนพื้นราบ ผิวหน้าเรียบเสมอกัน
4. กรรมวิธีพิมพ์ผ่าวช่องฉลุ
คือ การพิมพ์ผ่านช่องว่างที่สร้างสรรค์ไว้ เช่น การอัด ภาพถ่าย
คุณค่าของทัศนศิลป์
รูปที่ 3.23 คุณค่าของทัศนศิลป์ |
ในการชื่นชมผลงานทัศนศิลป์ อันได้แก่
จิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรมมักพิจารณาจาคติ ความเชื่อ
และประโยชน์ประโยชน์ใช้สอยหรือที่เรียกว่า คุณค่าทางศิลปะซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประการ
คือ
1. คุณค่าทางเรื่องราว
2. คุณค่าทางรูปทรง
คุณค่าทางเรื่องราว
หมายถึง
คติความเชื่อและความหมายที่แฝงอยู่ในผลงานศิลปะเป็นการบอกเล่าเนื้อหาและสาระสำคัญที่ผู้สร้างศิลปะต้องถ่ายทอดและบอกกล่าว
รวมถึงประวัติศาสตร์
คุณค่าทางเรื่องราวทางทัศนศิลป์ที่ทำกันประมวลผลได้ดังนี้
- เรื่องราวเกี่ยวกับความเชื่อถือ
- เรื่องราวเกี่ยวกับศาสนา
- เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์
- เรื่องราวเกี่ยวกับการเมือง
- เรื่องราวเกี่ยววรรณคดี
คุณค่าทางรูปทรง
หมายถึง
เกณฑ์ความงดงามที่มีอยู่ในศิลปะ
ซึ่งสามารถรับรู้และยอมรับกันโดยทั่วไปเป็นการประสานกันขององค์ประกอบทางความงามที่สามารถรับรู้ได้ด้วยตาทีผู้สร้างงานศิลปะจินตนาการออกแบบขึ้นด้วยความชำนาน
ส่วนประกอบที่ทำให้เกิดความงามของทัศนศิลป์มี 6 ประการ คือ
1. เส้น 2.
รูปทรง
3. จังหวะและช่องไฟ 4. น้ำหนัก
5. สี 6. พื้นผิว
รูปแบบการแสดงออกทัศนศิลป์
แบ่งโดยรวมได้ 3 ลักษณะคือ
1. รูปแบเหมือนจริง
2. รูปแบบลดตัดทอนหรือกึ่งนามธรรม
3. รูปแบนามธรรม
รูปแบบเหมือนจริง
จะถ่ายทอดตามลักษณะเหมือนจริงตามที่ตามองเห็น
รูปที่ 3.24 รูปแบบเหมือนจริง |
รูปแบบลดตัดทอนหรือกึ่งนามธรรม
จะถ่ายทอดสิ่งที่มองเห็นโดยลดตัดทอนให้เหลือไว้แต่สิ่งสำคัญที่ต้องการเน้นโดยยังเหลือเค้าโครงเดิมไว้บางส่วน
รูปที่ 3.25 รูปแบบลดตัดทอนหรือกึ่งนามธรรม |
รูปแบบนามธรรม ไม่แสดงเรื่องราว
แต่จะทำให้ความสำคัญกับอารมณ์ความรู้สึกที่ผู้ดูมีต่อผลงาน
รูปที่ 3.26 รูปแบบนามธรรม |
สีกับการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์
วัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่ใช้อย่างไรย่อมเป็นส่วนหนึ่งของการร้างความสำเร็จในการทำงาน
เช่นเดียวกันกับการสร้างสรรค์งานศิลปะ
เราจำเป็นต้องรู้เรื่องคุณสมบัติของสื่อวัตถุอุปกรณ์
สีที่ใช้ในการทำงานทัศนศิลป์ที่เรารู้จักกันดีแบ่งเป็น 2 ประเภท สีชนิดแห้ง ได้แก่
ดินสอสี สีเทียน สีชอล์กและสีชนิดเปียกได้แก่ สีน้ำ สีโปสเตอร์ สีน้ำมัน
สีแต่ละชนิดจะมีเทคนิคและวิธีการใช้ที่เหมาะสมกับงานทัศนศิลป์แตกต่างกัน ดังนี้
สีชนิดแห้ง
ดินสอสี Crayon
ดินสอสี
เป็นสีผงละเอียดผสมกับขี้ผึ้งหรือไขสัตว์ ดินสอสี นำมาอัดให้เป็นแท่งอยู่ในลักษณะของดินสอ
เพื่อให้เหมาะสำหรับเด็ก ๆ ใช้งาน มีลักษณะคล้ายกับสีชอล์ก แต่เป็นสีที่มีราคาถูก เนื่องจากมีส่วนผสมอื่น ๆ ปะปนอยู่มาก
มีเนื้อสีน้อยกว่า ปัจจุบันมีการพัฒนาให้สามารถละลายน้ำ หรือน้ำมันได้ โดยเมื่อใช้
ดินสอสีระบายสีแล้วนำพู่กันจุ่มน้ำมาระบายต่อ ทำให้มีลักษณะคล้ายกับภาพสีน้ำ ( Aquarelle ) บางชนิด
สามารถละลายได้ในน้ำมัน ซึ่งทำให้กันน้ำได้
สีเทียน OIL PASTEL
สีเทียนหรือสีเทียนน้ำมัน
เป็นสีฝุ่นผงละเอียด ผสมกับไขมันสัตว์หรือขี้ผึ้ง แล้วนำมาอัดเป็นแท่ง
มีลักษณะทึบแสง สามารถเขียนทับกันได้
การใช้สีอ่อนทับสีเข้มจะมองเห็นพื้นสีเดิมอยู่บ้าง การผสมสี อื่น ๆใช้การเขียนทับกัน
สีเทียนน้ำมันมักไม่เกาะติดพื้น สามารถขูดสีออกได้ และกันน้ำ ถ้าต้องการให้ สีติดแน่นทนนาน
จะมีสารพ่นเคลือบผิวหน้าสี
สีเทียนหรือสีเทียนน้ำมัน มักใช้เป็นสีฝึกหัดสำหรับเด็ก เนื่องจากใช้ง่าย
ไม่ยุ่งยาก ไม่เลอะเทอะเปรอะเปื้อน และมีราคาถูก
เพิ่มคำอธิบายภาพ |
สีชอล์ก PASTEL
สีชอล์ก
เป็นสีฝุ่นผงละเอียดบริสุทธิ์นำมาอัดเป็นแท่ง ใช้ ในการวาดภาพ มากว่า 250 ปีแล้ว
ปัจจุบัน
มีการผสมขี้ผึ้งหรือกาวยางไม้เข้าไปด้วยแล้วอัดเป็นแท่งในลักษณะของดินสอสี แต่มีเนื้อละเอียดกว่า แท่งใหญ่กว่า และมีราคาแพงกว่ามาก มักใช้ในการวาดภาพเหมือน
สีชนิดเปียก
สีน้ำ WATER COLOUR
สีน้ำ เป็น
สีที่ใช้กันมาตั้งแต่โบราณ ทั้งในแถบยุโรป และเอเชีย โดยเฉพาะจีน และญี่ปุ่น ซึ่งมีความสามารถในการระบายสีน้ำ แต่ในอดีตการระบายสีน้ำมักใช้เพียงสีเดียว คือ สีดำ
ผู้ที่จะระบายได้อย่างสวยงามจะต้องมีทักษะการใช้พู่กันที่สูงมาก การระบายสีน้ำจะใช้น้ำ เป็นส่วนผสม
และทำละลายให้เจือจาง ในการใช้สีน้ำ
ไม่นิยมใช้สีขาวผสมเพื่อให้มีน้ำหนัก อ่อนลง และไม่นิยมใช้สีดำผสมให้มีน้ำหนักเข้มขึ้น เพราะจะทำให้เกิดน้ำหนักมืดเกินไป แต่จะใช้สีกลางหรือสีตรงข้ามผสมแทน
ลักษณะของภาพวาดสีน้ำ จะมีลักษณะใส บาง และ สะอาด
สีน้ำที่มีจำหน่ายในปัจจุบัน จะบรรจุในหลอด หรือเป็นก้อนเค้ก
เป็นเนื้อสีฝุ่นที่ผสมกับกาวอะราบิค ซึ่งเป็นกาวที่สามารถละลายน้ำได้
มีทั้งลักษณะที่โปร่งแสง ( ransparent ) และกึ่งทึบแสง ( Semi-Opaque
) ซึ่งจะมีระบุ
ไว้ข้างหลอด
สีน้ำนิยมระบายบนกระดาษที่มีผิวขรุขระ หยาบ
สีโปสเตอร์ POSTER COLOUR
สีน้ำมัน OIL COLOUR
สีอะครีลิค ACRYLIC COLOUR
สีอะครีลิค เป็นสีที่มีส่วนผสมของสารพลาสติกโพลีเมอร์ ( Polymer) จำพวก อะครีลิค (Acrylic)หรือ ไวนิล ( Vinyl ) เป็นสีที่มีการผลิตขึ้นมาใหม่ล่าสุด วลาจะใช้นำมาผสมกับน้ำ ใช้งานได้เหมือนกับสีน้ำและสีน้ำมัน มีทั้งแบบโปร่งแสง
และทึบแสง แต่จะแห้งเร็วกว่าสีน้ำมัน 1 - 6 ชั่วโมง เมื่อแห้งแล้วจะมีคุณสมบัติกันน้ำได้และเป็นสีที่ติดแน่นทนนาน คงทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ สามารถเก็บไว้ได้นานๆยึดเกาะติดผิวหน้าวัตถุได้ดี
เมื่อระบายสีแล้วอาจใช้น้ำยาวานิช ( Vanish )เคลือบผิวหน้าเพื่อป้องกันการขูดขีดเพื่อให้คงทนมากยิ่งขึ้น สีอะครีลิคที่ใช้วาดภาพบรรจุในหลอด มีราคาค่อนข้างแพง
สีฝุ่น TEMPERA
สีฝุ่น เป็นสีเริ่มแรกของมนุษย์
ได้มาจากธรรมชาติ ดิน หิน แร่ธาตุ พืช
สัตว์ นำมาทำให้ละเอียดเป็นผง ผสมกาวและน้ำ กาวทำมาจากหนังสัตว์
กระดูกสัตว์ สำหรับช่างจิตรกรรมไทยใช้
ยางมะขวิดหรือกาวกระถิน
ซึ่งเป็นตัวช่วยให้สีเกาะติดพื้นผิวหน้าวัตถุไม่หลุดได้โดยง่ายในยุโรปนิยมเขียนสีฝุ่น
โดยผสมกับกาวยาง กาวน้ำ หรือไข่ขาว สีฝุ่นเป็นสีที่มีลักษณะทึบแสง
มีเนื้อสีค่อนข้างหนา เขียนสีทับ กันได้
สีฝุ่นมักใช้ในการเขียนภาพทั่วไป
โดยเฉพาะภาพฝาผนัง
ในสมัยหนึ่งนิยมเขียนภาพผาผนังที่เรียกว่า สีปูนเปียก (Fresco) โดยใช้สีฝุ่นเขียนในขณะที่ปูนที่ฉาบผนังยังไม่แห้งดี
เนื้อสีจะซึมเข้าไปในเนื้อปูนทำให้ภาพไม่หลุดลอกง่าย สีฝุ่น ในปัจจุบัน มีลักษณะเป็นผง
เมื่อใช้งานนำมาผสมกับน้ำโดย ไม่ต้องผสมกาว เนื่องจากในกระบวนการผลิตได้ทำการผสมมาแล้ว การใช้งานเหมือนกับสีโปสเตอร์
หากผู้ใช้มีความรู้และเข้าใจในคุณลักษณะของสีในการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์แล้ว
เชื่อว่าสามารถเลือกใช้สีเพื่อการสร้างงานทัศนศิลป์ได้ตามความต้องการและมีประสิทธิภาพ
คำศัพท์ทางทัศนศิลป์
การเรียนรู้เกี่ยวกับศัพท์ทางทัศนศิลป์นั้นก็เพื่อผู้เรียนได้เข้าใจเนื้อหาแระจุประสงค์ของผลงานทางทัศนศิลป์
ทำให้ทราบซึ่งและเข้าใจถึงศิลปะได้มากขึ้นรวมทั้งสามารถนำความรู้ในส่วนนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการศึกษาต่อทางด้านศิลปะ
ซึ่งในหน่วยการเรียนรู้ได้เลือกสรรมาพอประมาณและคำศัพท์ที่นักเรียนควรรู้
การแกะสลัก ( Carving ) เป็นวิธีการสร้างงานปติมากรรมโดยวัสดุ เช่น ไม้ หิน งาช้าง ฯลฯ มาตัด
ขุด แกะหรือสลักให้เป็นรูปที่ต้องการ เช่น พระพุทธรูป หน้าบัน ประตู โขน
เรือพระราชพิธี ฯลฯ
กลวิธีพิมพ์ผ้าไหม ( Silk Screen ) เป็นกรรมวิธีพิมพ์ภาพอย่างหนึ่งที่พัฒนาจากการพิมพ์ลายฉลุ
โดยใช้ผ้าไหมเป็นแม่พิมพ์
การหล่อ ( Casting ) เป็นการถ่ายภาพแบบจากงานประติมากรรมต้นแบบด้วยการทำพิมพ์ขึ้นมาก่อน
แล้วใช้วิธีกลวิธีการหล่อเพื่อให้วัสดุไหลลงไปในแม่พิมพ์ก่อให้เกิดรูปทรงและรายละเอียดตามต้องการ
เครื่องปั้นดินเผา ( Ceramic ) เป็นวัตถุประดิษฐ์เพื่อประโยชน์ใช้สอยหรือผลงานศิลปะที่สร้างขึ้นมาจากดิน
หิน แร่ธาตุต่างๆ
ให้เป็นตามรูปทรงตามต้องการแล้วผ่านกรรมวิธีการเผาเพื่อให้เกิดความแข็งแกร่ง
อาจใช้น้ำยาเคลือบก่อนที่จะนำเข้าเตาเผาเคลือบอีกครั้ง
ค่าของแสงและเงา ( Chiaroscuro ) เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผลงานวาดเส้น จิตรกรรม ประติมากรรม
และสถาปัตยกรรมประสบผลสำเร็จงดงามด้วยการลงค่าน้ำหนักความอ่อนแก่ของแสง-เงาถูกต้องตามธรรมชาติ
จิตรกรรม ( Painting ) คือ ภาพเขียนที่ศิลปินสร้างสรรค์ขึ้นด้วยประสบการณ์ ศัพท์น่ารู้
(ภาษาไทย) ทางสุนทรียภาพและทักษะความชำนาญด้วยสีต่างๆ เช่น สีน้ำมัน สีอะครีลิก
ฯลฯ หน้าบันคือจั่ว ใช้แก่ ซึ่งศิลปินอาจเลือกเขียนภาพตามใจชอบ เช่น ภาพทิวทัศน์
ภาพหุ่นนิ่ง ภาพคนเหมือน ภาพโบสถ์ วิหาร ภาพสัตว์ เหตุการณ์ต่างๆ
ในรูปแบบของงานจิตรกรรม เช่น แบบสัจนิยม (Realism) แบบอุดมคติ (ldealism) หรือแบบนามธรรม (Abstract)
ฯลฯ
ภาพทิวทัศน์ทางทะเล ( Seascape ) เป็นผลงานศิลปะด้านจิตรกรรมวาดเส้น
ภาพพิมพ์ที่สร้างสรรค์ขึ้นจากเรื่องราวและบรรยากาศของริมทะเลในมิติของกาลเวลาต่างๆกัน
สี ( Colour ) คือ
ลักษณะความเข็มของแสงที่สะท้อนสู่สายตาปรากฏเป็นสีต่างๆ
สามรถกระตุ้นอารมณ์และมีอิทธิพลต่อความรู้สึกที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละสี
สีผสม ( Mixed Media )
1. สื่อผสมเป็นศิลปกรรมสมัยใหม่ในพุทธศตวรรษที่
25 ได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์หรือวาดเส้นที่มีวัสดุหรือกลวิธีต่างๆ
ผสมผสานเชื่อมโยงจนไม่อาจเรียกว่าเป็นตัวงานอย่างหนึ่งอย่างใดโดยเฉพาะได้
2. ศิลปะที่ผสมผสานสัมพันธ์กันระหว่างประติมากรรม
ดนตรี ลีลาเคลื่อนไหวสิ่งแวดล้อมก็นับว่าเป็นงานศิลปกรรมสื่อผสม
เส้น ( Link ) เส้นเกิดจากการต่อกันของจุดบนพื้นระนาบอย่างมีทิศทาง เช่น เส้นตรง
เส้นโค้ง เส้นหยัก เป็นต้น
เอกรงค์ ( Monochrome ) คือ การสร้างงานศิลปะหรือการแตกต่างด้วยสีเพียงสีเดียวโดยทำให้เกิดค่าน้ำหนักของสีต่างกันในบางกรณีอาจใช้สีอื่นผสมด้วย
แต่เมื่อมองดูแล้วจะเห็นภาพทั้งหมดเป็นสีเดียวกัน
อุตสาหกรรมศิลป์ ( lndustrial ) คือ ศิลปะที่ออกแบบและผลิตเป็นจำนวนมาก ใช้วิทยากรการศึกษา
และการค้นคว้าด้านเทคโนโลยี และวัสดุ
เพื่อนำมาปรับใช้ในการออกแบบให้มีความกลมกลืนกับหน้าที่และประโยชน์ใช้สอยของผลิตภัณฑ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น